20121018

จากพระราชดำรัส ๔ ประการ สู่รูปธรรม การทำความดี


จากพระราชดำรัส ๔ ประการ สู่รูปธรรม การทำความดี
 

เชื่อว่าความปลื้มปิติ และความรู้สึกจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ในวันที่เสด็จออก ณ สีหบัญชร พระที่นั่งอนันตสมาคม เพื่อให้พสกนิกรชาวไทยทุกหมู่เหล่าได้เข้าเฝ้าฯถวายพระพรชัย เนื่องในโอกาสทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี ยังคงประทับใจและตราตรึงอยู่ในความทรงจำของคนไทยทุกผู้ทุกนามอีกนานเท่านาน ในวันนั้น ได้ทรงมีพระราชดำรัสตอบขอบใจทุกๆคนที่มีจิตใจเปี่ยมไปด้วยความปรารถนาดี และความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของทุกคน ทุกฝ่าย ทำให้พระองค์ทรงมีกำลังใจมากขึ้น ขณะเดียวกันก็ทรงพระราชทานคุณธรรมที่เป็นที่ตั้งของความรักความสามัคคี ที่จะทำให้คนไทยสามารถร่วมมือร่วมใจกันรักษาและพัฒนาชาติบ้านเมืองให้เจริญ รุ่งเรืองสืบต่อกันไปได้อย่างตลอดรอดฝั่ง ว่า มีอยู่ ๔ ประการ คือ
ประการแรก คือ การให้ทุกคนคิด พูด ทำ ด้วยความเมตตา มุ่งดี มุ่งเจริญต่อกัน
ประการที่สอง คือการที่แต่ละคนต่างช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ประสานงานประสานประโยชน์กัน ให้งานที่ทำสำเร็จผลทั้งแก่ตน แก่ผู้อื่น และแก่ประเทศชาติ
ประการที่สาม คือ การที่ทุกคนประพฤติปฏิบัติอยู่ในความสุจริต ในกฎกติกา และในระเบียบแบบแผนโดยเท่าเทียมเสมอกัน
ประการที่สี่ คือ การที่ต่างคนต่างพยายามทำ นำความคิดเห็นของตนให้ถูกต้องเที่ยงตรงอยู่ในเหตุในผล
           พระองค์กล่าวว่า หากความคิดจิตใจ และการประพฤติปฏิบัติที่ลงรอยเดียวกันในทางที่ดี ที่เจริญนี้ ยังมีพร้อมมูลในกาย ในใจของคนไทย ก็มั่นใจได้ว่าประเทศชาติไทยจะดำรงมั่นคงอยู่ตลอดไปได้ จึงขอให้ประชาชนชาวไทยทุกหมู่เหล่าได้รักษาจิตใจและคุณธรรมนี้ไว้ให้เหนียว แน่น และถ่ายทอดความคิดจิตใจนี้กันต่อไป อย่าให้ขาดสาย เพื่อให้ประเทศชาติของเราดำรงยืนยงอยู่ด้วยความร่มเย็นเป็นสุข ทั้งในปัจจุบันและภายหน้า
           เมื่อจบพระราชดำรัสดังกล่าว เสียงตะโกนโห่ร้องด้วยความยินดีว่า “ ทรงพระเจริญๆๆๆๆ ” ที่ดังขึ้นอย่างกึกก้องต่อเนื่อง ณ บริเวณนั้น เชื่อว่า มันได้ดังขึ้นพร้อมกันทั่วประเทศด้วย ซึ่งคำที่เปล่งออกมาด้วยจิตใจที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันนี้ ก็เปรียบเสมือนกับคำมั่นสัญญาที่พวกเราชาวไทยได้ถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระองค์ ท่านว่า เราพร้อมที่จะน้อมนำกระแสพระราชดำรัสไปปฏิบัติเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต
           ในยุคปัจจุบันที่กระแส “ วัตถุนิยม ” หรือ “ ทุนนิยม ” ได้หล่อหลอมให้คนเห็น “ เงิน ” เป็นคำตอบของทุกสิ่งทุกอย่างนั้น ทำให้คนสมัยนี้ร้อนรุ่ม ตกอยู่ในความโลภ และเห็นแก่ตัวกันมากขึ้น เพราะเมื่อเราเห็น “ เงิน ” เป็นแก้วสารพัดนึก ที่จะบันดาลทั้งความสะดวกสบาย ชื่อเสียง เกียรติยศ ตลอดจนการยอมรับนับถือให้เราได้แล้ว คนจำนวนมากจึงพร้อมจะทำทุกสิ่ง แม้แต่การใช้เล่ห์เพทุบายทุกวิธีเพื่อให้ได้มาซึ่ง “ เงิน ” เพื่อจะได้ใช้เป็นอำนาจ “ ซื้อ ” หรือ “ ต่อรอง ” ทุกอย่างตามที่ตนปรารถนา โดยหวังแต่ความร่ำรวย และความเจริญก้าวหน้าส่วนตัว และของพวกพ้อง จนกลายเป็นคนขาดความรัก ความเมตตาต่อผู้อื่น ซึ่งคนประเภทนี้กำลังทวีจำนวนมากขึ้นเป็นลำดับ ทำให้บ้านเมืองของเรา หากจะเปรียบเป็น “ นาวา ” ก็กำลังโต้คลื่นลม มรสุมแห่งทุนนิยม ที่มาพร้อมกับกระแสโลกาภิวัตน์ที่ถาโถมเข้ามาลูกแล้วลูกเล่า จนนาวาของเราตกอยู่ในวิกฤตที่น่าเป็นห่วง ดังนั้น พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงเสมือนประภาคารที่ส่องให้เราได้ยึดไว้เป็นแสงสว่างนำทางแห่งชีวิต มิให้ปัดเป๋ไปตามคลื่นลม แต่ให้ตั้งหลักนำเรือของเราฝ่าฟันกระแสไปอย่างมุ่งมั่นที่จะไปสู่ฝั่งได้ อย่างรอดปลอดภัย โดยเรือไม่ล่มหรือแตกไปเสียก่อน

           การดำเนินชีวิตตามแนวพระราชดำรัสทั้งสี่ประการข้างต้นนั้น เป็นคุณธรรมที่เราทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย ทุกศาสนาสามารถปฏิบัติได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ ไม่ว่าจะเป็นนักเรียน นิสิต นักศึกษา ข้าราชการ สื่อมวลชน พ่อค้า นักธุรกิจ นักการเมือง ประชาชนทั่วไป รวมถึงนักบวช และพระภิกษุสงฆ์ด้วย ซึ่งการน้อมนำพระราชดำรัสไปสู่การกระทำดี ที่เป็นรูปธรรมนี้ สามารถเริ่มด้วยการ ให้ทุกคนทำตามหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด โดยยึดหลักธรรมตามศาสนาของตนเป็นพื้นฐาน อันได้แก่

•  ถ้าเป็นนักเรียน นักศึกษา ก็ให้ตั้งใจเล่าเรียน ช่วยติวให้เพื่อน ไม่หวงวิชา ไม่คิดโกงข้อสอบ ไม่ก่อการทะเลาะวิวาท ทำตัวเป็นหัวโจกในทางที่ไม่ดี มีความเคารพพ่อแม่ครูบาอาจารย์ พูดจามีสัมมาคารวะต่อผู้ใหญ่ กลับบ้านก็ให้รู้จักช่วยเหลือพ่อแม่ทำงานบ้าน ไม่คิดฟุ้งเฟ้อ ฟุ่มเฟือยซื้อของแบรนด์เนมหรือเปลี่ยนมือถือบ่อยทั้งๆที่ยังไม่มีรายได้ ให้ปฏิบัติตนอยู่ในกฎระเบียบของสถานศึกษา ไม่ข้องแวะกับยาเสพติด ขณะเดียวกันก็ช่วยดึงเพื่อนให้ห่างไกลจากอบายมุขด้วย เป็นต้น


•  ถ้าเป็นพ่อแม่ ก็ต้องเสียสละเวลาให้ลูกบ้าง อย่าตั้งหน้าตั้งตาทำมาหากินแต่เพียงอย่างเดียวอย่าปล่อยให้เป็นหน้าที่ของ สถานศึกษาในการอบรมสั่งสอนลูกเท่านั้น แต่พ่อแม่ต้องทำหน้าที่ในการสั่งสอนลูกให้เป็นคนดี ไม่เป็นภาระกับสังคมด้วย ควรมอบหมายหน้าที่การงานให้ทำบ้าง เพื่อลูกจะได้รู้จักรับผิดชอบ มิใช่เอาแต่เรียนแต่อย่างเดียว ควรสอนลูกให้รู้จักเสียสละ ช่วยเหลือส่วนรวมหรือผู้ด้อยโอกาส สอนให้ไม่ดูถูกดูแคลนผู้ที่ด้อยกว่า สอนให้มีเมตตาต่อผู้อื่น โดยอาจจะพาลูกไปทำบุญตามวาระสำคัญต่างๆ ฯลฯ

•  ถ้าเป็นครูบาอาจารย์ ก็ต้องตั้งใจสั่งสอนลูกศิษย์ ให้ความรู้อย่างเต็มที่ ขณะเดียวกันก็ต้องสอนศิษย์ให้เป็นคนดี มีความรู้คู่คุณธรรม มิใช่แค่เรียนเก่งอย่างเดียว ทำตนให้ศิษย์เคารพรักด้วยความจริงใจ มิใช่เคารพตามหน้าที่ อย่าคิดแต่จะสอนพิเศษ หรือใช้เวลาสอนไปหารายได้อื่นๆเพิ่ม ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี และชี้แนะแนวทางที่ถูกต้องแก่ศิษย์ เป็นต้น

•  ถ้าเป็นข้าราชการ ทหาร ตำรวจ ก็ให้ปฏิบัติหน้าที่อย่างตรงไปตรงมา ปฏิบัติงานด้วยความยิ้มแย้ม แจ่มใส ตั้งใจบริการ ไม่ใช้อำนาจหน้าที่ไปในทางมิชอบ หรือเอารัดเอาเปรียบคนอื่น หรือสักแต่ทำให้เสร็จ หรือทำงานเอาหน้า แต่ให้ทำงานด้วยความตั้งใจที่จะให้เกิดประโยชน์กับบ้านเมืองอย่างจริงจัง และนึกถึงผลที่ยั่งยืน มีความซื่อสัตย์ ไม่เอนเอียงไปหาผลประโยชน์เข้าตนเองหรือพวกพ้องไม่ว่าจะมีโอกาสหรือไม่ก็ตาม ฯลฯ

•  ถ้าเป็นสื่อมวลชน ก็พยายามนำเสนอสิ่งที่เป็นประโยชน์และมีคุณค่าต่อสังคมเพิ่มขึ้น สิ่งใดเป็นพิษเป็นภัยต่อเยาวชนก็เสนอให้ลดน้อยลงไป พยายามชี้แนะแนวทางที่มีสาระความรู้แก่ประชาชนและเยาวชนอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ เพื่อเปิดโลกทัศน์และเสริมสร้างสังคมของเรา ให้เป็น “ สังคมอุดมปัญญา ” มิใช่ปัญหา

•  ถ้าเป็นดารานักร้องนักแสดง ก็อย่าคิดว่าเข้ามาในวงการเพียงเพื่อหาเงินระยะหนึ่งเท่านั้น แต่ให้ทำตัวเป็น “ แบบอย่าง ” แก่น้องๆเยาวชนที่รักเรา ปลื้มเราบ้าง เช่น ไม่มั่วเซ็กส์ เสพยา บ้าพนัน ฯลฯ แต่ให้น้องๆเขาได้เห็นตัวอย่างที่ดีๆ เพื่อว่าเขาจะได้ทำตัวเป็น เด็กดี คนดีในสังคมตามแบบดารานักร้องที่เขาชื่นชอบ และตัวเราเองก็จะได้ภูมิใจว่ามีส่วนได้ช่วยชาติบ้านเมืองอีกทางหนึ่ง

•  ถ้าเป็นนักการเมือง ก็ขอให้ตั้งใจปฏิบัติตามสัตย์สาบานที่ว่า จะเข้ามารับใช้ชาติบ้านเมืองอย่างจริงจัง เต็มที่ อย่าทำเพียงลมปาก หรือพูดอย่าง ทำอย่าง และอย่าใช้อำนาจหน้าที่ในการแสวงหาผลประโยชน์เพื่อตนเอง ญาติมิตร หรือพวกพ้อง ให้ใช้อำนาจอย่างเที่ยงธรรมถูกต้อง ทั้งตามหลักกฎหมายและหลักจริยธรรม ขอให้เป็นนักการเมืองพันธุ์ใหม่ที่ประชาชนคนไทยเคารพรักได้อย่างสนิทใจ และเชื่อใจ

•  ถ้าเป็นพ่อค้า นักธุรกิจ แม้โดยธรรมชาติ จะต้องมุ่งเน้น “ กำไร ” เป็นตัวตั้ง แต่ก็ขอให้ผลิตสินค้าที่มี คุณภาพ หรือให้บริการที่สมราคา อย่าเอาเปรียบผู้บริโภค หรือลูกค้า อย่า “ ย้อมแมวขาย ” อย่าฉกฉวยโอกาสค้ากำไรเกินควร ผู้ที่ขายของกิน ก็ควรรักษาความสะอาด และไม่ใช้สิ่งที่เป็นพิษหรือสิ่งปลอมปนใส่ไปในอาหาร เครื่องดื่ม เพราะหวังกำไรเพิ่มขึ้น เพราะเท่ากับเป็นการทำลายสุขภาพผู้อื่น และมีผลให้บ้านเมืองเรามีพลเมืองที่อ่อนแอ ฯลฯ

•  ถ้าเป็นนักบวช หรือพระสงฆ์ ก็ขอให้ดำเนิน “ ตามรอยพระพุทธองค์ ” เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดี และให้ประชาชนเคารพศรัทธาได้จากวัตรที่ปฏิบัติ และเป็นที่พึ่งทางใจได้อย่างแท้จริง ไม่ประพฤตินอกรีตนอกรอย อันเป็นการทำลายศาสนาทางอ้อม และไม่ชักจูงชาวบ้านไปสู่หนทางแห่งความหลงมัวเมาในกิเลส เป็นต้น
           ทั้งหมดนี้เป็นเพียงตัวอย่าง ที่แต่ละคนแค่ทำตามหน้าที่ ก็จะมีผลเป็นรูปธรรมให้เกิดคุณธรรม ๔ ประการ ตามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสไว้แล้ว ซึ่งเชื่อว่ามิใช่เรื่องยากที่จะปฏิบัติ เพียงแต่ขอให้พวกเราทุกคนมีความมุ่งมั่น เหมือนวันที่เราตั้งใจใส่เสื้อเหลืองเพื่อไปถวายพระพรเมื่อวันที่ ๙ มิถุนายนที่ผ่านมาก็พอแล้ว


อมรรัตน์ เทพกำปนาท
กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ

๑๐ วิธีทำบุญ ให้ได้บุญ


๑๐ วิธีทำบุญ ให้ได้บุญ


  คนไทยเรานั้นเป็นพวกที่ชอบทำบุญ แต่บุญที่ทำกันเป็นส่วนใหญ่มักจะเป็นการบริจาคเงินหรือปัจจัยในโอกาสต่างๆ  เช่น ช่วยไถ่ชีวิตโค-กระบือ  ซื้อโลงศพ ช่วยบูรณะปฏิสังขรณ์วัดวาอาราม สร้างห้องส้วมให้โรงเรียน  หรือช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้แม้ดูเหมือนว่าจะเป็นการทำบุญที่หลากหลาย  แต่โดยแท้จริงแล้วก็ยังอยู่ในเรื่อง “ให้ทาน” เป็นหลัก  แต่ถึงกระนั้นก็ยังมีคนอีกจำนวนไม่น้อยที่ไม่มีโอกาสทำทานดังกล่าวด้วยซ้ำ  ครั้นจะทำบุญใส่บาตรหรือไปวัดใกล้บ้าน  ข่าวในทางลบของพวกอลัชชีก็ทำให้หลายคนเสื่อมศรัทธา และห่างเหินจากการทำบุญไปมาก  จนหลายคนเกิดปริวิตกว่า การที่ตนไม่ค่อยทำบุญเลยเช่นนี้  เกิดชาติหน้าหรือภายหน้าชีวิตคงต้องตกระกำลำบากกว่าคนที่ชอบทำบุญให้ทาน ประจำเป็นแน่  ซึ่งความเข้าใจข้างต้นก็มีส่วนถูกอยู่บ้าง แต่มิใช่ทั้งหมด เพราะการ “ทำบุญ” ในทางพุทธศาสนาไม่ได้มีเพียงการให้ทานหรือทำบุญกับพระและวัดเท่านั้น  แต่ยังสามารถทำได้ถึง ๑๐ วิธีด้วยกัน ซึ่งแต่ละวิธีเป็นอย่างไร กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม ขอนำมาเล่าสู่กันฟังและขอเชิญชวนให้พุทธศาสนิกชนทุกคนได้สร้างกุศล(สิ่งที่ ดี ที่ชอบ และฉลาด)ที่ทำได้ตลอดเวลา ดังต่อไปนี้
                  ก่อนอื่น มารู้จักความหมายของคำว่า “บุญ” เสียก่อน คำว่า “บุญ” โดยทั่วไปหมายถึง การกระทำความดี มาจากภาษาบาลีว่า “ปุญญะ” แปลว่า เครื่องชำระจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์  ดังนั้น บุญจึงเป็นเสมือนเครื่องกำจัดสิ่งเศร้าหมองที่เราเรียกกันว่า “กิเลส” ให้ออกไปจากใจ  บุญจะช่วยให้เราลด ละ เลิกความโลภ ความเห็นแก่ตัว ความมีจิตใจคับแคบ อันเป็นสาเหตุให้เกิดความทุกข์ต่างๆนานา  และช่วยให้ใจเป็นอิสระ พร้อมจะก้าวไปสู่การทำคุณงามความดีในขั้นต่อๆไป เป็นการยกระดับจิตใจให้สูงขึ้น ทำให้เกิดความอิ่มเอิบใจ มีความสุข   และเป็นความสุขที่สงบและยั่งยืน ในขณะเดียวกันก็ทำให้ผู้ปฏิบัติเป็นบุคคลที่มีคุณธรรม น่าเคารพยกย่อง เพราะถือว่าเป็น “คนดี” นั่นเอง

                  ในทางพระพุทธศาสนา  การทำบุญมีด้วยกัน ๑๐ วิธี  เรียกว่า “บุญกิริยาวัตถุ ๑๐” หรือ สิ่งอันเป็นที่ตั้งแห่งการทำบุญ ๑๐ ประการ  ได้แก่

                  ๑.ให้ทาน หรือ ทานมัย อันหมายถึง การให้  การสละ หรือการเผื่อแผ่แบ่งปัน ไม่ว่าจะเป็นเงินทอง ข้าวของเครื่องใช้หรือสิ่งอื่นใด และไม่ว่าจะให้แก่ใครก็ถือเป็นบุญทั้งสิ้น  เพราะการให้ทานเป็นการลดความเห็นแก่ตัว  ความตระหนี่ถี่เหนียว และความคับแคบในจิตใจให้น้อยลง  ทำให้เราไม่ยึดติดในวัตถุสิ่งของ อีกทั้งสิ่งที่เราบริจาคหรือให้ทานแก่ผู้อื่นก็จะช่วยบรรเทาความเดือดร้อน และเป็นประโยชน์ต่อผู้รับและสังคมโดยส่วนรวม การให้ทานนี้อยู่ที่ไหนๆก็ทำได้ และไม่จำเป็นต้องเงิน  เช่น การแบ่งของกินให้กับแม่บ้านที่ทำงานหรือยาม เป็นต้น ข้อสำคัญ  สิ่งที่บริจาคหรือให้ทานแก่ผู้อื่นควรเป็นสิ่งยังใช้ได้ มิใช่เป็นการกำจัดของเหลือใช้ที่หมดอายุ หมดคุณภาพให้ผู้อื่น  ผลการให้ทานดังกล่าวจะทำให้ผู้ปฏิบัติเกิดความปีติอิ่มเอิบใจ

                ๒.รักษาศีล หรือ สีลมัย  คำว่า ศีล หมายถึง ข้อบัญญัติทางพระพุทธศาสนาที่กำหนดการปฏิบัติทางกายและวาจา  เช่น ศีล ๕  ศีล ๘ หรืออาจจะหมายถึงการรักษากายวาจาให้เรียบร้อย การรักษาศีลเป็นการฝึกฝนมิให้ไปเบียดเบียนผู้อื่น ในขณะเดียวกันก็เป็นการลด ละ เลิกความชั่ว  มุ่งให้กระทำความดี อันเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตมิให้ตกต่ำลง  เช่น ไม่ไปเป็นชู้เป็นกิ๊กกับใครที่ทำงาน ทำให้ครอบครัวเขาไม่แตกแยก  เป็นแม่ค้าไม่โกหกหลอกขายของไม่ดีแก่ลูกค้า  เป็นพ่อบ้านไม่กินเหล้าเมายา ทำให้ลูกเมียมีความสุข เพื่อนบ้านก็สุข เพราะไม่ต้องทนฟังเสียงรบกวนจากการทะเลาะวิวาทกัน เหล่านี้ล้วนเป็นการรักษาศีลและเป็นหนึ่งในการทำบุญอีกรูปแบบหนึ่ง  ซึ่งผลบุญข้อนี้จะทำให้เรากลายเป็นคนเยือกเย็น  สุขุมด้วย

                  ๓.เจริญภาวนา หรือภาวนามัย เป็นการทำบุญอีกรูปแบบที่มุ่งพัฒนาจิตใจและปัญญา ทำให้จิตใจสงบ เห็นคุณค่าสิ่งต่างๆตามความเป็นจริง ซึ่งในข้อนี้หลายคนอาจจะทำเป็นประจำอยู่แล้ว เช่น นั่งสมาธิ วิปัสสนา แต่หลายคนอาจจะคิดว่าเป็นเรื่องยากเกินกำลัง ดังนั้น อาจจะทำง่ายๆด้วยวิธีการสวดมนต์เป็นคาถาสั้นๆบูชาพระที่เราเคารพบูชาก่อนนอน ทุกคืน เช่น คาถาพระพุทธเจ้าชนะมาร คาถาหลวงปู่ทวด เป็นต้น การสวดมนต์เป็นประจำอย่างน้อยก็เป็นการน้อมนำจิตใจของเราไปสู่สิ่งที่เป็น มงคลในชีวิต เป็นการเตือนสติให้เรายึดมั่นในการประพฤติปฏิบัติชอบตามสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ เรานับถือ และผลบุญข้อนี้จะทำให้เกิดปัญญาแก่ผู้ปฏิบัติ

                  ๔.การอ่อนน้อมถ่อมตน หรือ อปจายนมัย หลายคนคงคิดไม่ถึงว่า การประพฤติตนเป็นคนอ่อนน้อมถ่อมตนจะถือเป็นบุญอย่างหนึ่ง ทั้งนี้ ก็เพราะว่าการอ่อนน้อมถ่อมตนไม่ว่าจะเป็นผู้น้อยประพฤติต่อผู้ใหญ่  และการที่ผู้ใหญ่แสดงตอบด้วยความเมตตา  หรือการอ่อนน้อมต่อผู้มีคุณธรรม  รวมถึงการให้เกียรติ ให้ความเคารพต่อความคิด ความเชื่อ และวิถีปฏิบัติของบุคคลหรือสังคมอื่นที่แตกต่างจากเรานั้นเป็นการลดความยึด มั่นถือมั่นในความเป็นตัวตนของเรา  ช่วยให้สังคมทุกระดับเกิดความเข้าใจต่อกัน และช่วยให้ชาติบ้านเมืองเกิดความสงบสุข จึงถือเป็นบุญอย่างหนึ่ง ผลบุญข้อนี้จะทำให้เกิดความเมตตาต่อกัน

                  ๕.การช่วยขวนขวายทำในกิจที่ชอบ หรือไวยาวัจจมัย พูดง่ายๆว่า เป็นการให้ความช่วยเหลือแก่สังคมรอบข้างในการทำกิจกรรมความดีต่างๆ เช่น ช่วยพ่อแม่ค้าขายไม่นิ่งดูดาย ช่วยสอดส่องดูแลบ้านให้เพื่อนบ้านยามที่เขาต้องไปธุระต่างจังหวัด ช่วยงานเพื่อนที่ทำงานให้แล้วเสร็จทันเวลา  ให้กำลังใจแก่เพื่อนที่มีความทุกข์ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ถือเป็นบุญอีกแบบหนึ่ง และผลบุญในข้อนี้ก็จะช่วยให้เกิดความรักความสามัคคีขึ้นด้วย

                  ๖.การให้ผู้อื่นมาร่วมทำบุญกับเรา หรือ ปัตติทานมัย กล่าวคือ ไม่ว่าจะทำบุญอะไร ก็เปิดโอกาสให้คนอื่นได้มาร่วมทำบุญด้วย ไม่ขี้เหนียวหรืองกบุญเพราะอยากได้บุญใหญ่ไว้คนเดียว เช่น จะทำบุญสร้างระฆัง ก็ให้คนอื่นได้ร่วมสร้างด้วย ไม่คิดจะทำเพียงคนเดียว เพราะคิดว่าทำบุญระฆังจะได้กุศลกลายเป็นคนเด่นคนดัง เลยอยากดังเดี่ยว ไม่อยากให้ใครมาร่วมด้วย เป็นต้น นอกจากนี้ การเปิดโอกาสให้คนอื่นมาร่วมทำงาน  ร่วมแสดงความคิดเห็น รวมไปถึงการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว ก็ถือเป็นการทำบุญในข้อนี้ด้วย ผลบุญดังกล่าวจะช่วยให้เราเป็นคนใจกว้าง และปราศจากอคติต่างๆ เพราะพร้อมเปิดใจรับผู้อื่น

                  ๗.การอนุโมทนาส่วนบุญ หรือ ปัตตานุโมทนามัย คือ  การยอมรับหรือยินดีในการทำความดีหรือทำบุญของผู้อื่น  เมื่อใครไปทำบุญมาก็รู้สึกชื่นชมยินดีไปด้วย โดยไม่คิดอิจฉาหรือระแวงสงสัยในการทำความดีของผู้อื่น เช่น เพื่อนเดินทางไปสักการะสังเวชนียสถานมา ก็ร่วมอนุโมทนาที่เขามีโอกาสได้ไปทำบุญในดินแดนศักดิ์สิทธิ์ ไม่อิจฉาเขา แม้เราไม่ได้ไป ก็อย่าไปคิดอกุศลว่าเขาได้ไปเพราะชู้รักออกเงินให้ เป็นต้น  การไม่คิดในแง่ร้ายจะทำให้เรามีจิตใจไม่เศร้าหมอง แต่จะแช่มชื่นอยู่เสมอเพราะได้ยินดีกับกุศลผลบุญต่างๆอยู่ตลอดเวลา แม้จะมิได้ทำเองโดยตรงก็ตาม

                  ๘.การฟังธรรม หรือ ธรรมสวนมัย การฟังธรรมจะทำให้เราได้ฟังเรืองที่ดีมีประโยชน์ทั้งต่อสติปัญญา และการดำเนินชีวิต  ซึ่งการฟังธรรมนี้ไม่จำเป็นต้องไปฟังที่วัดหรือจากพระท่านโดยตรง  แต่อาจจะฟังจากเทป ซีดี หรือเป็นการฟังจากผู้รู้ต่างๆ  และธรรมในที่นี้ก็มิได้หมายถึงแต่เฉพาะหลักธรรมในทางศาสนาเท่านั้น  แต่ยังหมายรวมไปถึงเรื่องจริง เรื่องดีๆที่ทำให้ผู้ฟังเกิดความรู้และปัญญา ผลบุญข้อนี้จะทำให้ผู้ฟังเกิดการรู้แจ้งเห็นจริงยิ่งขึ้น

                  ๙.การแสดงธรรม หรือ ธรรมเทศนามัย  คือการให้ธรรมะหรือข้อคิดที่ดีๆแก่ผู้อื่น ด้วยการนำธรรมะหรือเรื่องดีๆที่เป็นประโยชน์ไปบอกต่อ หรือให้คำแนะนำให้เขาได้รู้จักวิธีการดำเนินชีวิตที่ดี เช่น สอนวิธีการทำงานให้   แนะหลักธรรมที่ดีที่เราได้ยินได้ฟังมาและปฏิบัติได้ผลแก่เพื่อนๆ  เป็นต้น ผลบุญในข้อนี้นอกจากจะทำให้ผู้อื่นได้รับรู้สิ่งที่เป็นประโยชน์แล้ว ยังทำให้ผู้บอกกล่าวได้รับการยกย่องสรรเสริญอีกด้วย

                  ๑๐.การทำความเห็นให้ถูกต้อง เหมาะสม หรือ ทิฏฐุชุกรรม คือ การไม่ถือทิฐิ  เอาแต่ความคิดเห็นของตนเป็นใหญ่  แต่ให้รู้จักแก้ไข ปรับปรุงพัฒนาความคิดเห็น และความเข้าใจในเรื่องต่างๆให้ถูกต้องตามธรรมอยู่เสมอ  หรือจะพูดง่ายๆว่า ให้คิดและประพฤติตนให้ถูกต้องตามทำนองคลองธรรมก็ได้ ซึ่งข้อนี้แม้จะเป็นข้อสุดท้ายแต่ก็สำคัญยิ่ง เพราะไม่ว่าจะทำบุญใดทั้ง ๙ ข้อที่กล่าวมา หากมิได้ตั้งอยู่ในทำนองคลองธรรม การทำบุญนั้นก็ไม่บริสุทธิ์และให้ผลได้ไม่เต็มที่ ดังจะได้กล่าวถึงเกณฑ์การวัดบุญต่อไป

                  สำหรับการทำบุญที่จะให้ได้ผลบุญมากหรือน้อยนั้น มีหลักเกณฑ์อยู่ ๓ ประการคือ ๑.ผู้รับ จะต้องเป็นผู้มีศีล มีคุณธรรมความดี  แต่ไม่จำเป็นจะต้องเป็นพระสงฆ์หรือนักบวช จะเป็นคนทั่วไปก็ได้ ถ้าผู้รับดี ผู้ทำก็ได้บุญมาก หากผู้รับไม่ดี ก็อาจจะทำให้เราได้บุญน้อย เพราะเขาอาจอาศัยผลบุญของเราไปทำชั่วได้ เช่น ให้เงินช่วยเหลือเพื่อนๆกลับเอาไปปล่อยกู้   สร้างความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น  เป็นต้น ๒.วัตถุสิ่งของที่ให้ต้องบริสุทธิ์หรือได้มาโดยสุจริต เป็นของที่เหมาะและมีประโยชน์ต่อผู้รับ เช่น ให้เสื้อผ้าของเล่นแก่เด็กกำพร้า เป็นต้น ของที่ให้ดีผู้ทำก็ได้บุญมาก หากได้มาโดยทุจริต แม้จะเอาไปทำบุญก็ได้บุญน้อย ๓.ผู้ให้ ต้องมีศีลมีธรรมและมีเจตนาที่เป็นบุญกุศลในการทำ  จึงจะได้บุญมาก นอกจากนี้เจตนาหรือจิตใจในขณะทำบุญก็เป็นองค์ประกอบสำคัญกล่าวคือ ก่อนให้ ขณะให้ และหลังให้  หากผู้ให้มีความตั้งใจดี  ตั้งใจทำ  เมื่อทำแล้วก็เบิกบานใจ คิดถึงบุญกุศลที่ได้ทำเมื่อใดจิตใจก็ผ่องใสเมื่อนั้น เช่นนี้ก็จะทำให้ผู้ทำได้บุญมาก  ถ้าไม่รู้สึกเช่นนั้น บุญก็ลดน้อยถอยลงตามเจตนา

                  ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ จะเห็นได้ว่า ใครก็ตามแม้จะไม่มีโอกาส “ให้ทาน” อันเป็นการทำบุญที่ง่าย และเป็นรูปธรรมที่สุด แต่เราทุกคนก็สามารถเลือกทำบุญในลักษณะอื่นๆได้อีกถึง ๙ วิธี และเป็นสิ่งที่ทำได้ไม่ยาก เช่น การอ่อนน้อมถ่อมตน การช่วยเหลือแนะนำน้องๆที่ทำงาน การไม่ถือทิฐิหรือดื้อหัวชนฝา  การร่วมยินดีกับการทำบุญของเพื่อน เป็นต้น เพียงแค่นี้ก็เห็นผลทันตาแล้ว คือ ความอ่อนน้อมถ่อมตนทำให้ผู้ใหญ่เมตตาต่อเรา  การช่วยเหลือเพื่อนฝูงทำให้ไปไหนเพื่อนๆก็รักใคร่ ยินดีต้อนรับ 
                  ดังนั้น   เริ่มต้นทำ “บุญ” เมื่อใด   บุญก็ส่งให้เห็น “ผล”เ มื่อนั้น

ธรรมคุณ 6


ธรรมคุณ 6


ธรรมคุณ หมายถึง คุณของพระธรรมมี 6 ประการ ดังนี้ 

1.สวากขาโต ภควตา ธัมโม พระธรรมเป็นคำสอนอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว เป็นความจริงแท้ เป็นหลักครองชีวิตอันประเสริฐ

2.สันทิฏฐิโก พระธรรมนี้ผู้ปฏิบัติตามจะเห็นได้ด้วยตนเอง ไม่ต้องเชื่อคำผู้อื่น ผู้ที่มิได้ปฏิบัตินั้นแม้จะมีใครมาบอกและอธิบายให้ฟังก็ไม่อาจเห็นได้

3.อกาลิโก ไม่เนื่องด้วยกาลเวลา ไม่ขึ้นอยู่กับเวลาปฏิบัติตามได้พร้อมบริบูรณ์เมื่อใดก็เห็นผลเมื่อนั้น เป็นจริงตลอดเวลาไม่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลสมัย สิ่งที่เนื่องด้วยเวลาเป็นสิ่งที่มีเกิด มีเปลี่ยนแปลง มีดับไปตามเวลา แต่พระธรรมเป็นจริงอยู่เสมอเป็นนิจ

4.เอหิปัสสิโก ควรเรียกให้มาดู คือ พระธรรมเป็นคำสอนที่ควรจะเชิญให้ใครๆ มาดู มาพิสูจน์ มาตรวจสอบ เพราะเป็นของที่จริงตลอดเวลา

5.โอปะนะยิโก ควรน้อมเข้ามา คือ เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้าไว้ในใจเพื่อยึดถือเป็นหลักปฏิบัติในชีวิต จะได้บรรลุถึงความหลุดพ้น


6.ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ คือวิญญูชนรู้ได้เฉพาะตน คือพระธรรมนี้เป็นสิ่งที่วิญญูชนจะรู้ได้ และการรู้ได้นั้นเป็นของเฉพาะตน ต้องปฏิบัติตามจึงจะรู้ ทำแทนกันไม่ได้ แบ่งปันให้กันไม่ได้ ต้องประจักษ์ด้วยตนเอง 


ที่มา : http://www.kroobannok.com

คุณธรรม-จริยธรรมต่างกันอย่างไร

คุณธรรม-จริยธรรมต่างกันอย่างไร
 
     เมื่อปลายปี 2550 คณะกรรมาธิการศาสนา คุณธรรม วัฒนธรรม และศิลปะ ได้จัดรายการแถลงข่าว โดยยกย่องคุณธรรมแห่งการรักแม่เป็นคุณธรรมเริ่มแรกแห่งคุณธรรมทั้งหลาย ซึ่งได้รับการสนับสนุนและเห็นดีเห็นชอบจากสื่อมวลชนทั้งหลายและผู้ร่วมงาน ให้กำลังใจมากมาย และ พลเอกปรีชา โรจนเสน ประธานกรรมาธิการ ได้กำชับให้ผมพยายามสร้างความเข้าใจในความหมายของคำคุณธรรมจริยธรรมให้ กระจ่างกันเสียที ผมเห็นด้วย จึงค้นคว้ามาเสนอในคอลัมน์นี้
     ขอเริ่มที่คำคุณธรรมก่อน เปิดพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานฉบับ พ.ศ. 2542 ดูที่คำคุณธรรม พบคำนิยามสั้น ๆ ว่าสภาพคุณงามความ ดี จากนิยามนี้จึงได้ยินคำอธิบายจากหลายคนว่า “ได้แก่ความดีที่อยู่ภายใน” ซึ่งน่าจะหมายความว่าเป็นภาวะรวม ๆ แห่งการทำดีทุกอย่าง อย่างที่ภาษาอังกฤษใช้คำว่า goodness เพื่อหมายถึงภาวะแห่งการทำดีอย่างรวม ๆ เมื่อเทียบกับจริยธรรมซึ่งพจนานุกรมเดียวกันนิยามว่า “ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ, ศีลธรรม, กฎศีลธรรม” ซึ่งน่าจะเข้าใจได้ว่าหมายถึงภาวะการทำดีที่กำหนดได้เป็น ข้อ ๆ เหมือนกฎหมายที่กำหนดได้เป็นมาตรา ๆ ศีลธรรมที่กำหนดได้เป็นข้อ ๆ เหมือนศีล 5 กำหนด ได้เป็น 5 ข้อ บัญญัติ 10 ประการกำหนดได้เป็น 10 ข้อ
     เปิดดูพจนานุกรมศัพท์ปรัชญาของราชบัณฑิตยสถานฉบับ พ.ศ. 2532 ที่คำว่าคุณธรรม พบคำแปลว่า virtue และเปิดดูที่คำ virtue ก็พบคำแปลและนิยามว่า “คุณธรรม : หลักที่มนุษย์ถือเป็นแนวทางที่ถูกต้องในการดำเนินชีวิต เช่น ความยุติธรรม ความเมตตา ฯลฯ” ซึ่งน่าจะตีความได้ว่าหมายถึงความดีเป็นข้อ ๆ ซึ่งน่าจะตรงกับคำนิยาม “จริยธรรม” ของพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถานฉบับ พ.ศ. 2542 นั่นเอง แค่นี้ก็สับสนพอดูอยู่แล้วสำหรับผู้อยากได้นิยามชัดเจน
     สำรวจดูจากงานเขียนของนักเขียนอื่น ๆ ในภาษาไทย ก็จะพบคำนิยามและคำอธิบายต่าง ๆนานา ซึ่งก็พอจะตีความได้อย่างรวม ๆ ว่า หมายถึงหลักและแนวปฏิบัติ ซึ่งเมื่อยังไม่ปฏิบัติเรียกว่าคุณธรรม หากปฏิบัติก็เป็นจริยธรรม (อาจจะตีความจากคำอธิบายของพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานกระมังที่นิยาม จริยธรรมว่า “ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ” โดยยกเอา “ข้อ” ออก แล้วเอาคำว่า “การ” ใส่เข้าไปแทน กลายเป็น “ธรรมที่เป็นการปฏิบัติ”
     ที่น่าสนใจมาก ๆ คือ นิยามของพระเดชพระคุณท่านอธิการบดีมหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ขณะดำรงสมณศักดิ์พระเมธีธรรมาภรณ์ (พ.ศ. 2537) ว่า “คุณธรรมเป็นเรื่องของสัจธรรม ทำให้เกิดการประพฤติ ปฏิบัติดี ทำให้เกิดการรักษาศีล กระจายออกเป็นจริยธรรมและจรรยาบรรณ จริยธรรมจึงเป็นการดำเนินการให้สอดคล้องกับสัจธรรม จริยธรรมจึงเป็นหลักแห่งความประพฤติที่ดีงาม เพื่อประโยชน์ตนและสังคม” ตรงนี้เองกระมังเป็นที่มาของนิยามของผู้สนใจเรื่องนี้ทั่ว ๆ ไปว่า “คุณธรรมเป็นหลักความดีภายใน และจริยธรรมคือการปฏิบัติตามหลักคุณธรรม” ถือได้ว่าเข้าทิศทางสากลแล้ว แต่ก็ยังต้องช่วยกันขยายความมากกว่านี้
     สรุปก็คือ ยังมีความสับสนอยู่มากในการเข้าใจความหมายของคำว่าคุณธรรมและจริยธรรม
     ผมจะขอลองชำแหละเรื่องนี้ในภาษาอังกฤษดูก่อน เรื่องนี้ภาษาอังกฤษและภาษาตะวันตกทั้งหลายมีอยู่ 2 คำ คำหนึ่งมาจากภาษากรีก ethos ส่วนอีกคำหนึ่งมาจากภาษาละติน mores ทั้ง 2 คำ 2 ภาษามีความหมายเหมือนกันว่าการปฏิบัติโดยประเพณี ซึ่งก็หมายความว่าเป็นที่ยอมรับของมวลชนในสังคมที่กล่าวถึง ชาวกรีกเป็นผู้ริเริ่มนำมาใช้เป็นวิชาการก่อน เช่น แอร์เริสทาเทิลเขียนตำรา Ethica Nicomachea, Ethica Eudemia, Macra Ethica เมื่อชาวยุโรปหันมาใช้ภาษาละตินแทนภาษากรีก ตลอดยุคกลางนั้น เรื่องที่แปลมาจากภาษากรีก จะยังคงทับศัพท์เป็น Ethica นอกจากหนังสือเล่มที่สามที่แปลเป็นภาษาละตินว่า Magna Moralia
     ชาวยุโรปยุคกลางพร้อมใจกันใช้คำภาษากรีก (Ethica) สำหรับพูดถึงความคิดของชาวกรีก ซึ่งเป็นความคิดระดับปรัชญาเท่านั้น และใช้คำภาษาละติน (Moralia) สำหรับพูดถึงความคิดของพวกตน ซึ่งมีพื้นฐานบนคำสอนของศาสนาคริสต์ มีคำประนีประนอม Ethica Christiana ซึ่งหมายถึง เรื่องการทำดีตามคำสอนของศาสนาคริสต์ที่อธิบายและพิสูจน์ระดับปรัชญาเท่า นั้น
     หลังยุคกลางเมื่อมีการใช้ภาษาถิ่นต่าง ๆของยุโรป อย่างเช่น ภาษาอังกฤษ ก็จะนิยมใช้ทั้งคำ Ethic (จากภาษากรีก) และ Moral (จากภาษาละติน) และใช้อย่างสับสนปนเปจนยากที่จะกำหนดได้ว่ามีความหมายต่างกันอย่างไร แม้หลายคนพยายามแยกใช้ Ethic สำหรับมิติปรัชญา และ Moral สำหรับมิติศาสนาก็ไปไม่รอด มีหลายคนพยายามแยกใช้ Ethic สำหรับระดับอธิบายตามหลักวิชาการ และ Moral สำหรับข้อปฏิบัติและคำอธิบายระดับภาษาสามัญ แต่ก็ไม่สู้จะมีคนฟัง ยังคงใช้ทั้ง 2 คำอย่างปนเปกัน โดยเอาความนิยมเป็นหลัก ผิดพลาดบ้างไม่ว่ากัน เพราะเข้าใจกันได้ แม้จะฟังแปร่ง ๆ หน่อยสำหรับผู้คร่ำหวอดก็ไม่เป็นไร
     จะขอสำรวจจำนวนคำที่เก็บอธิบายในสารานุกรมปรัชญา 2 ชุดของภาษาอังกฤษ คือ ชุด Routledge's Encyclopedia of Philosophy และชุด Macmillan's Encyclopedia of Philosophy, 2nd edition มาแสดงให้เห็นสถิติความสนใจใช้ 2 คำนี้ คือ ในบรรดาศัพท์ Ethic 46 คำ และ Moral 104 คำ Routledge เก็บคำกลุ่ม Ethic ไว้ 23 คำ และคำกลุ่ม Moral ไว้ 51 คำ ส่วน Macmillan เก็บคำกลุ่ม Ethic ไว้ 31 คำ และคำกลุ่ม Moral ไว้ 78 คำ ทั้ง 2 ฉบับเก็บกลุ่ม Ethic ไว้ร่วมกันเพียง 8 คำ และคำกลุ่ม Moral เก็บไว้ร่วมกัน 24 คำ เมื่อหักคำที่ใช้ร่วมกันแล้วก็เหลือคำที่ Routledge ใช้ส่วนตัวคือ Ethic 15 คำ และ Moral 27 คำ ส่วน Macmillan ใช้ส่วนตัวคือ Ethic 23 คำ และ Moral 54 คำ
     จากสถิตินี้จึงพอจะเห็นได้ว่าหนังสือหลักของโลกปรัชญาในภาษาอังกฤษนิยมใช้คำ Moral มากกว่า Ethic ประมาณเท่าตัว
     หากเรายึดถือเอาคำแปลของศัพท์ปรัชญาฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2548 (พิมพ์ครั้งที่ 4) เป็นหลัก ก็จะเห็นว่าสองคำนี้มีความหมายเหมือนกัน เพราะแปลคำ Ethics ว่าจริยศาสตร์ และอธิบายว่าเป็นเรื่องของศีลธรรม ดูที่คำ Morals แปลว่าหลักจริยธรรม ทำให้ดูเหมือนกับว่า 2 คำนี้ใช้แทนกันได้
     ขณะที่ผมทำหน้าที่เผยแพร่คุณธรรมของรัฐสภาสมัย สนช. นั้น มีคนถามหนาหูว่าคำ “ศีล ธรรม” หายไปไหน เห็นมีแต่ใช้คำ “จริยธรรม” ครั้งหน้าผมจะลองชำแหละเรื่องนี้ดู ถ้าเรื่องนี้ไม่ชัดเจน การเรียนการสอนเรื่องนี้คงยุ่งยากอยู่ จะพยายามดูครับ. 



ขอบคุณบทความจาก : ครูบ้านนอก.คอม : http://www.kroobannok.com/1187
ที่มาภาพ : http://thaigoodview.com/node/39646?page=0%2C0

มรรค 8 แห่งการส่งเสริมคุณธรรม - จริยธรรม




คุณธรรม - จริยธรรม คือ คุณสมบัติของความเป็นมนุษย์ อันเป็นไปเพื่อความสุขของตนเองและการอยู่ร่วมกัน หรือศีลธรรม
คุณธรรม - จริยธรรม คือ การเป็นผู้มีจิตใจสูง ไม่เห็นแก่ตัวฝ่ายเดียว แสดงออกโดยการไม่เบียดเบียน มีความเมตากรุณา มุ่งช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นทุกข์
มรรค 8 แห่งการส่งเสริมคุณธรรม - จริยธรรม ประกอบด้วย
  1. ผู้ปกครองทุกๆ ระดับต้องตั้งอยู่ในความถูกต้อง โบราณได้สังเกตุมานานแล้วว่า ถ้าผู้ปกครองไม่ตั้งอยู่ในความสุจริตยุติธรรมแล้ว บ้านเมืองจะหายนะทุกุประการ เพราะการประพฤติปฏิบัติของผู้ปกครองกระทบทุกอณูของสังคม ฉะนั้น การส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ผู้ปกครองทุกระดับ ตั้งแต่นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีลงไปจนถึงหัวหน้าครอบครัว ต้องเป็นผู้มีคุณธรรม - จริยธรรม
  2. ครอบครัวอบอุ่น การ อยู่กันเป็นครอบครัวผดุงคุณธรรมและจริยธรรม เด็กและคนหนุ่มสาวที่ไม่ได้อยู่กันเป็นครอบครัว มีความเสี่ยงต่อความสูญเสียสูง เช่น คนงานที่จากบ้านมาอยู่ในโรงงานเศรษฐกิจจะคำนึงถึงเงินเท่านั้นไม่ได้ แต่ต้องถึงการอยู่กันเป็นครอบครัวอบอุ่น
  3. ชุมชนเข็มแข็ง ชุมชนเข็มแข็งเป็นเครื่องผดุงคุณธรรม - จริยธรรม ต้องส่งเสริมให้เกิดการรวมตัวร่วมคิดร่วมทำ (ความเป็นชุมชน) ในทุกพื้นที่ ทุกองค์กร และทุกเรื่อง
  4. การมีสัมมาชีพเต็มพื้นที่ การมีสัมมาชีพเต็มพื้นที่เป็นรากฐานของการอยู่ร่วมกันอย่างร่มเย็นเป็นสุข สัมมาชีพที่ไม่เบียดเบียนตนเอง ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่เบียดเบียนสิ่งแวดล้อม และมีรายจ่ายน้อยกว่ารายได้ สัมมาชีพเป็นบูรณาการของความดี ขณะที่จีดีพีไม่ใช่การพัฒนาควรปรับจากการวัดกันด้วยเงินหรือจีดีพี ไปเป็นการวัดกันด้วยการมีสัมมาชีพเต็มพื้นที่ ซึ่งทำเป็นนโยบายสนับสนุนได้ เช่น การใช้ที่ดิน การใช้เทคโนโลยี ข้อมูลข่าวสาร การศึกษา เป็นต้น
  5. การมีสปิริตแห่งการเป็นอาสาสมัครเต็มแผ่นดิน รัฐบาลควรมีนโยบายส่งเสริมให้ นักเรียน นิสิต นักศึกษา ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชน ใช้ช่วงเวลาหนึ่งในแต่ละปี เป็นอาสาสมัครเพื่อเพื่อนมนุษย์ ซึ่งจะไปกระตุ้นเมล็ดพันธุ์แห่งความดีในจิตใจของแต่ละคนให้งอกงาม ขึ้นมา และเป็นการเชื่อมโยงมนุษย์เข้าหากันด้วยความเมตากรุณา
  6. ส่งเสริมการพัมนาจิตให้เป็นวิถีชีวิต ในขณะที่จิตใจสามารถฝึกอบรมให้มีความสุขได้ ฝึกอบรมให้ลดการเห็นแก่ตัวได้ ฝึกอบรมให้มีสติ มีสมาธิ มีปัญญายิ่งๆ ขึ้นได้ คนปัจจุบันกลับเกือบไม่มีการพัฒนาจิตใจเลย ควรส่งเสริมการพัฒนาจิตให้เป็นวิถีชีวิตของผู้คน ทั้งในระบบโรงเรียนและนอกระบบโรงเรียน ส่งเสริมให้มีศูนย์พัฒนาจิตมากๆ ทั้งสถาบันทางศาสนา หรือที่ทำโดยฆราวาส
  7. การศึกษาที่เข้าถึงความดี การศึกษาของเราเกือบทั้งหมดเอา "วิชา" เป็นตัวตั้ง จึงเข้าไม่ถึงความดี ในขณะที่ในพื้นที่มีคนคิดดีทำดีอยู่ การศึกษาของเราไม่รู้จักคนเหล่านั้น การศึกษาทุกระดับควรไปศึกษาวิจัยในพื้นที่ให้รู้จักคนดีๆ แล้วนำมาสื่อสารเรียนรู้กัน เรื่องของคนดีก็จะเข้าไปสู่ตัวผู้เรียน นอกจากนั้น เนื่องจากเรามีโครงสร้างของการศึกษาอยู่เต็มประเทศ เมื่อการศึกษาหันไปแสวงหาคนดีในพื้นที่ เราจะสร้างฐานข้อมูลของความดีขึ้นมาเต็มแผ่นดิน ทำให้ความดีเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่าย และเป็นแหล่งเรียนรู้ ทำให้ความดีในแผ่นดินมีกำลัง
  8. การสื่อสารความดี การสื่อสารเป็นสิ่งที่มีพลังมาก ทั้งทางบวกและทางลบ ควรมีการสื่อสารให้คนทั้งประเทศเข้าถึงความจริง ความดี และความงาม ที่กล่าวมาข้างต้นในข้อ 1 - 7 ก็เป็นเรื่องของความดี การสื่อสารความดีเป็นความดีประการที่ 8 ที่ทำให้ความดีทุกข้อมีพลังมากขึ้น
ที่มาภาพ : http://www.oknation.net

20120927

สติปัฏฐาน 4



สติปัฏฐาน 4

ความ จงใจใคร่ต่อการประพฤติดีจริง ๆ ธุระหน้าที่ที่ตนจะพึงทำทุกอย่าง ควรทำด้วยความจงใจ เพราะความจงใจเป็นเรื่องของสติและหลักใจ ที่จะยังงานนั้น ๆ ให้สำเร็จผู้มีสติและหลักใจประจำตัวและงานจึงชื่อว่าผู้มีความเพียรไปในตัว

            การบำเพ็ญเพียรที่เป็นไปตามพระประสงค์ของพระพุทธเจ้าและพระสัทธรรม คือความจงใจใคร่ต่อการประพฤติดีจริง ๆ ธุระหน้าที่ที่ตนจะพึงทำทุกอย่าง ควรทำด้วยความจงใจ การประกอบการงานทุกประเภทถ้าขาดความจงใจแล้ว แม้จะเป็นงานเล็กน้อย ย่อมไม่สำเร็จลงได้ด้วยความเรียบร้อยและน่าดูเลย เพราะความจงใจเป็นเรื่องของสติและหลักใจ ที่จะยังงานนั้น ๆ ให้สำเร็จ ได้ขาดไปจากตัวและวงงาน ผู้มีสติและหลักใจประจำตัวและงานจึงชื่อว่าผู้มีความเพียรไปในตัว

           ทั้งกิจนอกการในถ้าขาดความจงใจเป็นเครื่องจดจ่อต่องานแล้ว แม้ผู้เป็นนายช่างทำสิ่งต่าง ๆ ซึ่งมีความฉลาดอยู่บ้าง ทำอะไรมีความสวยงามและแน่นหนามั่นคง แต่ถ้าขาดความจงใจใคร่ต่องานแล้ว แม้งานนั้นจะสำเร็จก็ย่อมลดคุณภาพและความสวยงาม ฉะนั้นความตั้งใจจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยผู้มุ่งต่อผลของงานอันสมบูรณ์จึงไม่ควรมองข้ามไป
           เราเป็นนักบวชและนักปฏิบัติ ควรเห็นความตั้งใจจด จ่อต่อธุระหน้าที่ที่ตนจะพึงทำทุกประเภท โดยมีความรู้สึกอยู่กับงานนั้น ๆ แม้ที่สุดปัดกวาดลานวัด เช็ดถูกุฎีและศาลา ปูอาสนะ ตงน้ำใช้น้ำฉัน ตลอดการเคลื่อนไหวไปมา เหลือบซ้ายแลขวา ควรมีสติประจำอยู่ทุก ๆ ขณะ ชื่อว่าผู้มีความเพียรประจำตน
           การฝึกหัดนิสัยเพื่อเป็นคนมีสติอันเคยชิน จำต้องอาศัยการงานเป็นเครื่องฝึกหัด การประกอบการงานภายนอกแต่ละประเภทเป็นธุระชิ้นหนึ่ง ๆ การเดินจงกรมและนั่งสมาธิภาวนาเป็นธุระชิ้นหนึ่ง ๆ ทั้งนี้ถ้ามีสติจด จ่อกับงานที่ทำ ชื่อว่ามีความเพียรไม่ขาดวรรคขาดตอน การฝึกหัดนิสัยของผู้ใคร่ต่อธรรมชั้นสูง จึงควรเริ่มและรีบเร่งฝึกหัดสติไปกับงานทุกประเภทแต่ต้นมือ
           เพื่อความแน่นอนและมั่นคงในอนาคตของเรา โปรดฝึกหัดนิสัยตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนกลายเป็นคนมีสติประจำตนทั้งขณะที่ทำและขณะอยู่เฉย ๆ ถึงเวลาจะทำความสงบภายในใจ สติจะกลายเป็นธรรมติดแนบอยู่กับใจ และตั้งขึ้นพร้อมกับความเพียรได้อย่างใจหมาย ทั้งมีกำลังพอจะบังคับจิตใจให้หยั่งลงสู่ความสงบได้ตามต้องการ
           ส่วนมากที่พยายามให้จิตเข้าสู่ความสงบไม่ได้ตามใจหวังนั้น เนื่องจากสติที่ เป็นแม่แรงไม่มีกำลังพอ จิตึงมีโอกาสเล็ดลอดออกไปสู่อารมณ์ได้อย่างง่ายดาย เหมือนเด็กซนซึ่งปราศจากพี่เลี้ยงผู้ตามดูแล เด็กอาจได้รับอันตรายในเวลาใดก็ได้
           จิตี่มีความเพลินประจำตนโดยปราศจากสติตามรักษา จึงมีสิ่งรบกวนตลอดเวลาจนหาความสงบสุขไม่ได้ พี่เลี้ยงของจิตือสติกับปัญญา คอยให้ความปลอดภัยแก่จิตตลอดสาย ที่จิติดไปตามอารมณ์ต่าง ๆ คอยพยายามปลดเปลื้องอารมณ์ที่มาเกี่ยวข้องกับใจ และพยายามแสดงเหตุผลให้จิตับทราบเสมอ ใจที่ได้รับเหตุผลจากปัญญาพร่ำสอนอยู่เป็นนิจ จะฝืนคิดและติดอารมณ์ที่เคยเป็นข้าศึกต่อไปอีกไม่ได้ การฝึกหัดสติและปัญญา เพื่อให้มีกำลังคืบหน้าไม่ล่าถอยเสื่อมโทรม โปรดฝึกหัดตามวิธีที่กล่าวมา
           แต่อย่าปล่อยตัวเป็นคนสะเพร่ามักง่ายในกิจการทุกอย่าง ที่มุ่งประโยชน์แม้ชิ้นเล็ก ๆ นิสัยมักง่ายที่เคยเป็นเจ้าเรือนนี้ ยังจะกลายเป็นโรคเรื้อรังฝังลงในใจอย่าง ลึก และจะทำลายความเพียรทุกด้านให้เสียไป จงพยายามฝึกหัดนิสัยให้เป็นคนแน่นอนต่อกิจการที่ชอบทั้งภายนอกภายในเสมอ อย่ายอมปล่อยให้ความสะเพร่ามักง่ายเข้าฟักตัวอยู่ในนิสัยได้เลย
           เพราะผู้เคยฝึกหัดนิสัยให้เป็นคนจริงต่อหน้าที่การงานทุกประเภท ต้องเป็นผู้สามารถจะยังกิจการทุกอย่างไม่ว่าภายนอกภายในให้สำเร็จได้ โดยไม่มีอุปสรรคใด ๆ มากีดขวาง แม้จะอบรมจิตใจซึ่ง เป็นงานสำคัญทางภายใน ก็จำต้องประสบความสำเร็จลงด้วยความรอบคอบ หาทางตำหนิตนเองไม่ได้ เพราะกิจการภายนอกกับภายในส่อถึงใจผู้เป็นประธานดวงเดียวกัน ถ้าใจเป็นนิสัยมักง่าย เมื่อเข้าไปบ่งงานภายในต้องทำงานนั้นให้เหลวไปหมด ไม่มีชิ้นดีเหลืออยู่พอเป็นที่อาศัยของใจได้เลย
           เรื่องภายนอกกับเรื่องภายในส่อถึงกันอยู่ตลอดเวลา เพราะฉะนั้นการกระทำงานภายนอกจึงส่อถึงเรื่องหัวใจของ เราในทางภายใน ถ้าใครเป็นคนสะเพร่ามักง่ายในกิจธุระหน้าที่ภายนอกแล้ว นิสัยซึ่งเคยนี้ก็หมายถึงเรื่องดวงใจนั่นเอง เป็นผู้บ่งงานในกิจการภายนอกนั้น เมื่อเข้าไปบ่งงานหรือว่าทำกิจการงานภายใน ใจที่เคยเป็นผู้สะเพร่ามักง่ายก็จะต้องทำเช่นนั้น
           เพราะเหตุนั้นการฝึกหัดให้เป็นคนแน่นอน ให้เป็นคนจริงต่อธุระหน้าที่ด้วยความจงใจ ทำจนสุดวิสัยในกิจการงานนั้น ๆ ให้สำเร็จลงด้วยหมดความสามารถของตนด้วยความตั้งใจ ผู้นี้แลเมื่อเข้าไปดำเนินภายในจิตใจ คือจะอบรมจิตใจให้ เป็นไปในทางสงบก็ดี ให้เป็นไปในทางปัญญาก็ดี จะเป็นไปโดยรอบคอบทั้งสองทาง คือความสงบในเมื่อปรากฏขึ้นภายในใจ ก็จะมีความรอบคอบในความสงบของตน เมื่อออกพิจารณาในทางปัญญาก็จะรอบคอบในทางปัญญาของตน ปัญญารอบคอบปัญญา
           เหมือนกันกับว่าเหล็กแข็งกับเหล็กอ่อนสามารถจะบังคับกันได้ เรียกว่าเหล็กกล้าสามารถบังคับเหล็กอ่อนหรือตัดเหล็กอ่อนก็ได้อย่างที่เรา เคยเห็นกันอยู่ปัญญาที่มีความฉลาดสามารถที่จะพิจารณาปัญญาส่วนละเอียดได้ เช่นเดียวกัน นี่ขึ้นอยู่กับการฝึกหัดนิสัย
           ให้พยายามฝึกนิสัยของตนเสมอตั้งแต่ต้นทาง ต้นทางก็หมายถึงใจดวงนี้ปลายทางก็หมายถึงใจดวงนี้หยาบก็หยาบอยู่ที่ตัวของ เราเอง เข้าสู่ความละเอียดก็เข้าสู่ความละเอียดอยู่ที่ตัวของเราเอง นี่เป็นการเทียบเฉย ๆ ว่าต้นทางหรือปลายทาง
           คำว่าต้นทางหมายถึงว่าเริ่มทำงานทีแรกหรือเริ่มอบรมจิตใจทีแรกเรียกว่าต้น ทาง การเริ่มทำงานในทางด้านจิตใจของเราไปถึงขั้นมีความสงบมีความเยือกเย็นจิต เป็นสมาธิและมีความแยบคายทางด้านปัญญาบ้างนี้เรียกว่ากลางทางจิตีความเฉลียว ฉลาดทั้งด้านสมาธิก็ละเอียด ทั้งด้านปัญญาก็มีความสามารถจนถอดถอนตนของตนให้พ้นจากสิ่งแวดล้อมทั้งหลาย ได้ นั้นเรียกว่าปลายทาง
           แต่เมื่อสรุปความลงแล้วต้นกับปลายก็เหมือนกันกับผลไม้ผลไม้เราจะเรียกได้ไหม ว่าต้นของผลไม้ปลายของผลไม้มองดูที่ไหนก็เป็นผลไม้ลูกเดียวนั้นเองเหมือน อย่างมะพร้าวเราจะชี้ถูกไหมว่าปลายของมะพร้าวลูกหนึ่งๆ นั้นอยู่ที่ไหนต้นของเขาอยู่ที่ไหนในมะพร้าวลูกนั้นก็เรียกว่ามะพร้าวลูก หนึ่งเท่านั้นไม่มีต้นไม่มีปลาย
           เรื่องของใจก็ทำนองเดียวกันนั้น แต่เราพูดถึงเรื่องการปฏิบัติคือกิริยาของใจที่จะพินิจพิจารณาในความหยาบ ปานกลางหรือความละเอียดแห่งความเป็นอยู่อารมณ์ที่เป็นอยู่อุบายที่จะพิจารณา ในอารมณ์เหล่านั้นมีความหยาบมีความปานกลางหรือมีความละเอียด ซึ่งเกิดขึ้นมาจากใจดวงเดียวต่างกันเพียงเท่านี้เอง จึงเรียกว่าตอนต้น ตอนกลาง หรือตอนปลาย เรียกว่าต้นทางหรือปลายทางมีความหมายได้เพราะอาการของจิต หรือสิ่งแวดล้อมของจิตีความหยาบความละเอียดเท่านั้น
           ขอให้พากันฝึกหัดนิสัยของตนให้เป็นคนจริงเสมอ อย่าเป็นคนวอกแวกคลอนแคลน อย่าเป็นคนจับจด ฝึกหัดนิสัยให้จริว่าจะไปต้องไป ว่าจะอยู่ต้องอยู่ ว่าจะทำต้องทำ กำหนดเวล่ำเวลาอย่างใดไว้แล้วอย่าให้เคลื่อนคลาดในเวล่ำเวลา ซึ่งตนของตนได้กำหนดเอาไว้ ตนของตนได้เอามือลงเขียนไปแล้วให้เอามือลบ อย่าทำทำนองที่ว่ามือเขียนแล้วลบด้วยเท้า เราตั้งความสัตย์ใส่ตัวของเราเอง แต่ก็ไม่มีใครที่จะมาสามารถทำลายความสัตย์ของเรา เราเสียเองเป็นผู้ทำลายความสัตย์ของเราอย่างนี้ เรียกว่าเราเขียนด้วยมือลบด้วยฝ่าเท้าเป็นการไม่ถูกตามหลักธรรมของสมเด็จพระ ผู้มีพระภาคเจ้า
           เพราะฉะนั้นเราต้องเป็นผู้มีความแน่วแน่ต่อความดำริต่อความคิดหรือต่อความ ตัดสินใจของตนเสมอ ถ้าเราได้ตัดสินใจลงในกิจการงานอันใดที่เห็นว่าเป็นการถูกต้องแล้วจงเป็นผู้ พลีชีพลงเพื่อความสัตย์หรือเพื่อกิจการนั้นๆ เสมอจะเป็นนิสัยที่แน่นอนเป็นนิสัยคนจริงไม่เป็นนิสัยที่ว่าวอกแวกคลอนแคลน ไว้ใจไม่ได้
           เมื่อเราทำตัวของเราให้ไว้ใจของเราไม่ได้แล้วเราจะหวังพึ่งใครศีลก็เป็น เรื่องของเราจะพยายามรักษาให้สมบูรณ์ แต่เราก็ไม่ไว้ใจในการรักษาศีลของเราเพราะเราเป็นคนวอกแวกคลอนแคลนไม่แน่นอน ในใจของตนที่จะรักษาศีลด้วยกายวาจาใจให้เป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์แล้วเราจะ อาศัยใครเป็นที่ไว้ใจ เมื่อเราเองเป็นผู้ตั้งใจจะรักษาศีลให้เป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์ แต่เราก็ไม่ไว้ใจเราเพราะเราเป็นคนไม่แน่นอน และคุณสมบัติซึ่งจะเกิดขึ้นจากศีลนั้นก็เป็นคุณสมบัติที่ไม่แน่นอนเช่นเดียว กันเพราะเหตุไม่แน่นอนผลก็ต้องตามรอยกันไปนั่นเอง
           ถึงจะพยายามทำสมาธิให้เกิดเราก็ไม่แน่นอนในกิจในธุระหรือในการกระทำของเรา ที่จะสามารถยังจิตของเราให้เป็นไปเพื่อสมาธิ ตั้งแต่สมาธิขั้นหยาบจนกระทั่งถึงสมาธิขั้นละเอียด เมื่อเราเป็นผู้ไม่แน่นอนในกิจการของเราในหน้าที่ของเราตัดสินใจลงไม่ได้ แล้วเราก็เป็นคนหลักลอยสมาธิก็ไม่มีศีลก็เป็นศีลลอยลมสมาธิก็ลอยลมปัญญาก็ ลอยลมหาอะไรเป็นสาระแก่นสารในตัวของเราไม่ได้นี่โทษแห่งความไม่แน่นอน โทษแห่งความเป็นคนไม่จริงตัดสินใจของตนลงสู่หลักแห่งธรรมที่พระองค์เจ้าทรง ตรัสไว้ชอบแล้วยังไม่ได้ เราจะหวังผลมาจากที่ไหนเล่า
           ปัญญาจะหุงต้มแกงกินเหมือนอย่างอาหารหวานคาวไม่ได้ ขอให้บรรดาท่านทั้งหลายจงทราบเสมอและทราบทุกขณะว่าปัญญานั้นจะเกิดขึ้นจาก ผู้ที่ชอบคิดชอบค้นชอบพิจารณาคนไม่มีปัญญาไม่สามารถจะรักษาสมบัติจะประกอบ การงานให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยความเรียบร้อย ไม่สามารถจะรักษาสมบัติให้ปลอดภัยจากโจรจากมารได้ไม่ว่าทางโลกและทางธรรมคน มีความฉลาดคือคนมีปัญญาสามารถที่จะประกอบการงานตั้งแต่ชิ้นเล็กๆ จนสามารถประกอบได้ถึงการงานที่เป็นชิ้นใหญ่ที่สุดขึ้นอยู่กับปัญญา
           เรื่องการปฏิบัติพระศาสนาสำคัญอยู่ที่ปัญญาสติเมื่อมีความกระเทือนขึ้นภายใน ใจปัญญาต้องรับช่วงเสมอสิ่งที่มาสัมผัสให้จิตได้รับความกระเพื่อมแสดงให้ เห็นแล้วว่ามีความรู้สึกในสิ่งที่มาสัมผัสได้เริ่มขึ้นแล้วสติเป็นผู้รับรู้ ในวาระที่สองปัญญาเป็นผู้รับช่วงไปจากสติเป็นวาระที่สาม ให้ฝึกหัดตนของตนเป็นทำนองนี้จิตจะได้อยู่ในกรอบของสติจะได้อยู่ในกรอบของ ปัญญา
           เมื่อปัญญาเป็นผู้ที่ได้ฝึกฝนอบรมมาจนเคยชิน จนกลายเป็นนิสัยของคนที่ชอบคิดอานไตร่ตรองดูเหตุผลตัดสินตนของตนได้ด้วยความ ถูกต้องเพราะอำนาจแห่งปัญญาแล้ว แม้จะเข้าไปข้างในคือหมายถึงใจโดยเฉพาะก็ต้องเป็นผู้สามารถที่จะตัดสินใจลง ได้ด้วยหลักเหตุผล เพราะอำนาจของปัญญาอีกเช่นเดียวกัน
           เพราะเหตุนั้นจงพากันพยายามสติกับปัญญาให้แนบกับตัวไปทุกเวลาตาถึงไหนให้สติ กับปัญญาไปถึงนั้น หูได้ยินถึงไหนสติกับปัญญาให้ถึงที่นั้น จมูก ลิ้น กาย มีอะไรมาสัมผัสชั่วระยะไกลใกล้แค่ไหน หยาบละเอียดแค่ไหน สติกับปัญญาให้ตามรู้ ให้ได้รับความรู้สึกกันอยู่เสมอ อารมณ์ซึ่งเกิดขึ้นภายในใจสติกับปัญญาตามรอบรู้ ตามพิจารณากันอยู่เสมอ

           ท่านผู้ที่จะพ้นไปจากโลกท่านทำอย่างนี้ท่านไม่ได้ทำอย่างไม้ซุงทั้งท่อนที่ ทิ้งอยู่ให้เด็กเขาขึ้นบนไม้ซุงทั้งท่อนนั้นแล้วขี้รดลงไป เมื่อเราทำตัวของเราให้เป็นเช่นเดียวกับไม้ซุงทั้งท่อนแล้วกิเลสตัณหาอาสวะ จะมาทางรูป ทางเสียง ทางกลิ่น ทางรส เครื่องสัมผัส ล่วงไหลเข้ามาสู่อายตนะภายในคือทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ก็จะขี้รดลงไปถูกหัวใจดวงนั้น
           เพราะหัวใจดวงนั้นเป็นไม้ซุงทั้งท่อนไม่มีความแยบคาย ไม่มีความเฉลียวฉลาด ไม่มีความรอบคอบต่อตนเอง ต่ออารมณ์ทั้งหลายทั้งภายนอกภายในจนกลายเป็นขอนซุงทั้งท่อนให้กิเลสตัณหาอา สวะขี้รดทั้งวันทั้งคืนนี่ไม่สมควรสำหรับผู้ที่จะดำเนินเพื่อวิวัฏฏะคือความ พลิกโลกสงสารให้ออกจากจิตใจของตน จึงไม่ควรทำใจของตนให้เป็นซุงทั้งท่อนขอให้ท่านทั้งหลายได้ทราบไว้อย่างนี้
           เรื่องของสติ เรื่องของปัญญา เรานั่งอยู่ที่ไหนก็ตามถ้าพยายามระวัง พยายามคิดค้น สติกับปัญญาจะ มีอยู่ตลอดเวลา เพราะไม่ขึ้นอยู่กับใครทั้งนั้นขึ้นอยู่กับบุคคลผู้ใคร่ต่อการระมัดระวังผู้ ใคร่ต่อการพิจารณาสอดส่องหรือไตร่ตรองในเหตุทั้งหลายที่มาสัมผัส ซึ่งเป็นไปอยู่ทั้งกลางวันกลางคืนยืนเดินนั่งนอนมีแต่ธรรมชาติที่จะมา กระตุ้นเตือนหัวใจของเราให้สติได้รับรู้ให้ปัญญาได้ไตร่ตรองทั้งนั้นเดินไป ไหนตาถึงไหนให้มีสติปัญญาไปถึงที่นั่นนี้แลนักปฏิบัติเพื่อความรอบคอบทั้ง ภายนอกเข้าสู่ภายในต้องเป็นไปกับสติหรือปัญญาอย่างนี้
           ถ้าเราทำเหมือนอย่างขอนซุงทั้งท่อนเดินไปก็สักแต่ว่าเดินนั่งก็สักแต่ว่า นั่งภาวนาก็สักแต่ว่าความตั้งไว้เบื้องต้นในใจเท่านั้น แล้วนั่งอยู่เหมือนกับหัวตอความรู้สึกความรอบคอบในการงานคือการภาวนาของตน ไม่มีก็เหมือนกันกับหัวตอไม่เห็นผิดแปลกกัน
           อันใดนี่ขอให้เราทั้งหลายได้พินิจพิจารณารื้อฟื้นสติซึ่งมีอยู่กับหัวใจของ เราขึ้นมารื้อฟื้นปัญญาที่มีอยู่กับหัวใจของเราขึ้นมาให้เป็นประโยชน์สำหรับ หัวใจของเราเอง
           กิเลสไม่ได้เกิดขึ้นจากที่อื่นเกิดขึ้นจากหัวใจของเรานี้เอง แต่ก็เหยียบย่ำหัวใจเพราะหัวใจเป็นขอนซุงทั้งท่อนไม่สามารถที่จะปลดเปลื้อง สิ่งมัวหมองซึ่งเกิดขึ้นจากตนกิเลสจึงกลายเป็นขี้รดใจดวงนั้นลงไปทุกวันๆ ท่านจึงเรียกว่าขี้โลภ ขี้โกรธ ขี้หลง ขี้ลืม อย่างนี้เป็นต้น ขี้อย่างนี้เกิดขึ้นจากหัวใจทั้งนั้นที่ท่านว่าขี้หมายถึงว่าเป็นของที่หยาบ ก็เลยให้ชื่ออย่างนั้นเสีย
           เมื่อเราเป็นผู้มีความมุ่งประสงค์ที่จะทำตัวของเราให้เป็นไป เพื่อความสะดวกภายในจิตใจจงเป็นผู้ฝึกหัดสติเสมอพยายามตั้งสติให้ดีตรวจตรอง ดูอวัยวะทุกส่วนมีสติเป็นรั้วกั้นจิตอย่าให้เลยขอบเขตของสติไปได้ปัญญาเป็น ผู้จาระไนอยู่ทางภายในพิจารณาให้ชัดนี่พูดถึงเรื่องการฝึกหัดนิสัยในเบื้อง ต้นต้องเป็นผู้มีความตั้งอกตั้งใจฝึกหัดจริงๆ เมื่อเรามีการตั้งอยู่เสมอจนชินต่อนิสัยเราแล้วเราเดินไปที่ไหนสติจะต้อง เป็นไปอยู่ ปัญญาก็ต้องเป็นไปอยู่เช่นนั้นภัยจะมาจากที่ไหน
           เหตุที่ภัยจะเกิดขึ้นให้ใจของเราได้รับความเดือดร้อน เนื่องจากว่าจิตไม่มีสติไม่มีปัญญาเป็นเครื่องรักษาตนอะไรซึ่งเกิดขึ้นจากใจ เองจึงเกิดขึ้นได้ทุกๆ ประเภทและไม่เลือกกาลเวลาด้วยไม่เลือกอิริยาบถใดด้วย ทีนี้เราก็มาตำหนิติโทษเราว่า จิตใจไม่สงบ จิตใจได้ รับความเดือดร้อน แต่เราเสาะแสวงหาความเดือดร้อนเสียเองนั้นเราไม่คำนึงอาการที่แสวงหาความ เดือดร้อนโดยไม่รู้สึกตัวนี้ท่านเรียกว่าสมุทัยเหตุเป็นแดนเกิดแห่งทุกข์ เมื่อก่อไฟขึ้นมาแล้วจะบังคับไม่ให้ร้อนก็เป็นไปไม่ได้เหมือนกัน เมื่อก่อเหตุให้เป็นเรื่องของสมุทัยขึ้นมาแล้วผลที่จะพึงได้รับก็ต้องเป็น ทุกข์จะกลายเป็นสุขไปไม่ได้
           พระองค์ สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าและสาวกทั้งหลาย ท่านเดินจงกรมปรากฏในประวัติของสาวกว่า บางองค์ถึงฝ่าเท้าแตกก็มี อย่างนี้เป็นต้น นี่ก็ส่อให้เห็นแล้วว่าท่านพยายามเอาจริงเอาจังแค่ไหน เพราะความที่จะแหวกว่ายจากวัฏจักรอันนี้ไป ให้พ้นไปเสียได้ไม่ต้องมาเวียนว่ายตายเกิด ได้รับความทุกข์ความยากความลำบาก เช่นสัตว์ทั้งหลายที่เป็นอยู่ ณ บัดนี้มีตัวของเราเป็นต้น ซึ่งได้เคยผ่านความทุกข์ความทรมานมาเช่นเดียวกัน จึงไม่ควรที่จะทำความกล้าหาญหรือร่าเริงต่อความทุกข์ทั้งหลายเหล่านี้
           ใจทำไมจึงเป็นไปเพื่อความสงบไม่ได้ ลองสังเกตดูซิวันหนึ่ง ๆ ถ้าเราตั้งข้อสังเกตโดยเฉพาะในหัวใจของ เราแล้ว เราจะได้เห็นข้อบกพร่องของเราทั้งวัน และในขณะที่เราได้เห็นข้อบกพร่องของเราทั้งวันนั้น แสดงว่าเราก็มีข้อสมบูรณ์ขึ้นด้วยกัน เพราะเรามีสติเราจึงเห็นข้อบกพร่องของเรา ความที่เรามีสตินั้น เองเรียกว่าเราได้ความสมบูรณ์ขึ้นมาเป็นลำดับ ๆ หรือว่าสมบูรณ์ตามขั้น เริ่มจะเป็นความสมบูรณ์เป็นขั้น ๆ ขึ้นไป ต้องพยายามพิจารณาอย่างนี้
           เราไม่ต้องสนใจกับเรื่องอะไรทั้งนั้น ให้สังเกตดูตั้งแต่เรื่องหัวใจที่ จะปรุงเรื่องอะไรขึ้นมา แล้วบังคับไว้ภายในกายกับจิตนี้ ท่านว่าสติปัฏฐาน ๔ คือฐานที่ตั้งแห่งสติ พูดง่าย ๆ ถ้าจิตเราได้ตั้งอยู่กับกายนี้แล้ว สติบังคับสติไว้กับกายนี้แล้ว ปัญญาท่องเที่ยวอยู่ในสกลกายนี้แล้ว เรียกว่าได้เดินทางในองค์แห่งอริยสัจอย่างสมบูรณ์
           ทุกข์ ก็เป็นอันที่จะรู้เท่ากันในองค์แห่งอริยสัจนี้ สมุทัยก็เป็นอันว่าจะได้ละได้ถอนกันอยู่ในองค์แห่งอริยสัจนี้ มรรคก็เป็นอันว่าเราได้บำเพ็ญอยู่ในตัวของเรา พร้อมกับเวลาที่เราบังคับจิตใจหรือ ไตร่ตรองในธาตุขันธ์ของเรานี้ นิโรธะ ความดับไปแห่งความทุกข์จะแสดงให้เราเห็นเป็นชั้น ๆ ตั้งแต่ชั้นหยาบที่สุด ชั้นกลาง จนกระทั่งถึงชั้นสูงสุด ไม่ได้นอกเหนือไปจากสติปัฏฐานทั้งสี่
           เพราะเหตุนั้นสติปัฏฐานทั้งสี่จึงเป็นทางเดินของพระอริยเจ้าทุก ๆ ประเภท
           กาย หมายถึง อวัยวะของเราทุกส่วนที่เรียกว่ากองรูป
           เวทนา คือ ความสุข ความทุกข์และเฉย ๆ
           จิต หมายถึง เจตสิกธรรมที่ปรุงขึ้นไม่ขาดวรรคขาดตอน
           ธรรม หมายถึง อารมณ์ที่เป็นเป้าหมายของใจ
           นี่เรียกว่าสติปัฏฐาน ๔ บรรดาพระอริยเจ้าทุก ๆ ประเภทได้ถือสติปัฏฐาน ๔ เป็นอารมณ์ของใจ
           การพิจารณากายจะเป็นกายนอกก็ตามกายใน ก็ตาม โดยความเป็นของไม่เที่ยงบ้าง โดยความเป็นทุกข์บ้าง โดยความเป็นอนัตตาบ้าง โดยความเป็นของปฏิกูลโสโครกบ้าง เหล่านี้เรียกว่าพิจารณากายานุปัสสนาสติปัฏฐาน กายนี้มีทั้งกายนอกกายใน กายใน หมายถึงกายของเราเอง กายนอกหมายถึงกายของสัตว์อื่นบุคคลอื่น หรือสภาพที่จะเป็นอุบายแห่งปัญญาที่เกี่ยวกับด้านวัตถุ เราจะเรียกว่ากายโดยอนุโลมก็ได้ นี่เรียกว่ากายนอก พิจารณากายนอก ก็ตามกายในก็ตาม ให้เป็นไปเพื่อความเห็นโทษ ให้เป็นไปเพื่อความแก้ไข ให้เป็นไปเพื่อความฉลาด ปล่อยวางในสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น เรียกว่าพิจารณาในสติปัฏฐาน
           การ พิจารณากายทั้งหลายที่กล่าวมานี้เพื่อให้เห็นโทษในส่วนแห่งกาย ซึ่งเป็นที่ยึดถือของอุปาทาน เมื่อได้พิจารณาเห็นชัดในส่วนแห่งกายนั้นแล้ว ทั้งกายนอกทั้งกายในโดยทางปัญญา ความสำคัญในกายนั้นว่าเป็นอย่างไรซึ่งเคยเป็นมา ก็จะค่อยบรรเทาหรือเบาลงไป หมดความสำคัญว่ากายนั้นเป็นอะไรอีก เช่นอย่างเป็นของสวยของงาม เป็นสัตว์เป็นบุคคล เป็นของน่ารักน่าชอบใจ หรือน่ากำหนัดยินดี เหล่านี้เป็นต้น ก็จะขาดลงเพราะอำนาจของปัญญา เป็นผู้วินิจฉัยหรือตัดสิน ความสำคัญของใจซึ่งเป็นบ่อเกิดแห่งอุปาทานที่ไปเกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้ ก็จะค่อยหมดไปเป็นลำดับ
           เช่น อย่างองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าท่านสอนพระสาวกให้ไปอยู่ในป่าช้า ให้พิจารณาซากอสภในป่าช้า ก็หมายถึงเรื่องกายนอกนั่นเอง การพิจารณาสภาพของตัวทั้งหมดนี้เรียกว่ากายใน การพิจารณาไม่เพียงว่าครั้งหนึ่งครั้งเดียว ต้องถือเป็นกิจจำเป็นเช่นเดียวกันกับเรารับประทานอาหารเป็นประจำวัน แต่การรับประทานอาหารนั้นเป็นเวล่ำเวลา เช่นอย่างวันหนึ่ง ๓ มื้อบ้าง ๒ มื้อบ้าง หรือมื้อเดียวบ้าง แต่การพิจารณาในส่วนแห่งกาย จะเป็นกายนอกก็ตาม กายในก็ตาม เป็นอาจิณ ยิ่งได้ตลอดเวลายิ่งดี สำหรับผู้ปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์และเพื่อความถอดถอนอุปาทานออกจากกาย ที่เป็นบ่อเกิดแห่งความลุ่มหลง นี่เรียกว่าการพิจารณากายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
           เมื่อ สรุปความลงในผลแห่งการพิจารณาแล้วก็สักแต่ว่ากาย ไม่ใช่สัตว์ด้วย ไม่ใช่บุคคลด้วย ไม่ใช่เราด้วย ไม่ใช่เขาด้วย สักแต่ว่ากายเท่านั้นโดยทางปัญญาจริง ๆ เมื่อจิตได้เห็นชัดด้วยปัญญาจริง ๆ อย่างนี้แล้ว ความกังวลเกี่ยวข้องในเรื่องกาย ความเสาะแสวงหาทางอารมณ์ที่เกี่ยวกับกาย ความที่เรายึดมั่นถือมั่นในส่วนกายทั้งหลายเหล่านี้เป็นผลอันหนึ่ง เมื่อตัวเหตุคืออุปาทานได้หมดไปแล้วเพราะอำนาจของปัญญา สิ่งเหล่านี้ก็ต้องหมดไปหรือดับไปพร้อม ๆ กันไม่มีอันใดเหลือ
    
           ทีนี้เราพึงทราบว่าการพิจารณาในสติปัฏฐาน ๔ นี้ เราจะต้องพิจารณากายเสียก่อน แล้วก็ต่อไปเวทนา ต่อไปจิตและต่อไปธรรมนั้น เป็นการคาดผิดไป อันนี้เป็นชื่อของส่วนแห่งสภาพซึ่งมีอยู่ด้วยกันแล้วท่านแยกออกเป็น ๔ ประเภทเท่านั้น ในประเภททั้งหมดนี้มีอยู่กายอันเดียวนี้ เวทนาก็อยู่กาย จิตก็อยู่ในกายอันนี้ ธรรมก็อยู่ในกายอันนี้ แต่ท่านแยกประเภทออกไป ฉะนั้นความเข้าใจของเราอาจจะมีความเห็นผิดไปว่า เมื่อท่านแยกออกเป็นกาย เป็นเวทนา เป็นจิต เป็นธรรมแล้ว ถ้าหากเราจะพิจารณาในเวทนา หรือในจิต ในธรรม ส่วนใดส่วนหนึ่งก่อนแล้วจะเป็นการผิดอย่างนี้ นี่อาจเกิดขึ้นในความหลงผิด
           แต่แท้ที่จริงเวลาเราพิจารณากาย เวทนาก็แฝงอยู่ในกายนั้น ความทุกข์ไม่เลือกกาลใด จะเป็นกาลที่เรากำลังพิจารณากายอยู่ก็ตาม หรือนอกจากกายนั้นแล้วก็ตาม เกิดขึ้นได้ทั้งสุขทั้งทุกข์ ทั้งความเฉย ๆ เช่นเป็นโอกาสหรือเป็นช่องที่เราจะควรพิจารณาในเวลาเวทนาเกิดขึ้นนั้น ให้ได้ทราบชัดว่าเวทนานี้เป็นอะไร นอกจากว่ากายนี้ไม่ใช่เราไม่ใช่ของเราแล้ว เราจะเห็นว่าเวทนาที่เกิดขึ้นนี้เป็นอะไรอีกในบรรดาเวทนาทั้งสามนี้
           เราก็ต้องใช้ปัญญาพิจารณาในเวทนาทั้งสามนี้อีก มีลักษณะเช่นเดียวกันว่า อนิจฺจํ เวทนาจะเป็นสุขก็ตาม ทุกข์ก็ตาม เฉย ๆ ก็ตามเกิดขึ้น ทุกกาลทุกสมัยต้องเป็นไปกับด้วยไตรลักษณ์ทั้งนั้น ไม่มีระยะเดียวที่จะห่างจากไตรลักษณ์ คือ อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา ไป แล้วจะปฏิเสธความเป็นสัตว์เป็นบุคคลตายตัวอยู่เช่นนั้นตามสภาพของเขา นี่เรียกว่าพิจารณาเวทนา
           เราจะพิจารณากาลใดสมัยใดไม่ขดข้องทั้งนั้น เพราะเป็นเรื่องของสติปัฏฐาน ๔ แล้วความติดในอาการทั้งสี่ หรือในสภาวธรรมทั้งสี่นี้ คือ กาย เวทนา จิต ธรรม นี้ เราไม่ได้เลือกติดตามกาลตามเวลาของเขา ติดได้ทุกขณะ ติดได้ทุกเวลา ในสภาวธรรมทั้งสี่นี้ เพราะเหตุนั้นการที่เราจะพิจารณาแก้ไขในสภาวธรรมทั้งสี่นี้ จึงไม่จำเป็นจะต้องกำหนดเวล่ำเวลา
           คำว่าพิจารณาจิตจะพิจารณาอย่างไร.. จิตก็พิจารณาเจตสิกซึ่งเกิดขึ้นจากใจนั่นเองว่าไปสำคัญมั่นหมายในกายในเวทนา เหล่านี้ เป็นอะไรบ้าง ปรุงแต่งจะเป็นกายนอกก็ตามกายในก็ตาม ปรุงว่าอย่างไร หมายว่าอย่างไร กำหนดพิจารณาตามกระแสของใจ สิ่งที่ไปหมายหรืออารมณ์เหล่านั้นเป็นธรรมขึ้นมาแล้วที่นี่ เรียกว่าเป้าหมายนั่นเอง อารมณ์ที่จิตพิจารณาที่จิตจดจ่อนั้น เรียกว่าเป็นเป้าหมายของใจ เป้าหมายนั้นเองท่านเรียกว่าธรรม
           ทีนี้ท่านว่าพิจารณาเวทนาในเวทนานอกอันนี้เป็นปัญหาอันหนึ่งส่วนกายในกายนอก เราพอทราบกันได้ชัดเช่นอย่างกายของคนอื่นหรือเราไปเยี่ยมป่าช้า ก็แสดงว่าเราไปพิจารณากายนอก แต่เวทนาในนี้จะหมายถึงเวทนาอะไร เวทนานอกหมายถึงเวทนาอะไร เวทนานอกถ้าเราจะไปหมายคนอื่นเป็นทุกข์ทนลำบาก หากเขาไม่แสดงกิริยามารยาทอาการให้เราเห็นว่าเขาเป็นสุขหรือเป็นทุกข์แล้ว เราจะมีช่องทางหรือโอกาสพิจารณาเวทนาของเขาได้อย่างไร นี่เป็นปัญหาอยู่
           แต่นี้เพื่อจะให้เป็นสิ่งสำเร็จรูปในทางด้านปฏิบัติของเรา จะถูกก็ตามผิดก็ตาม ข้อสำคัญให้ถือเอาผลประโยชน์ซึ่งเกิดขึ้นในการกระทำของตน เป็นความสุข เป็นไปเพื่อความสงบ เป็นไปเพื่อความแยบคาย เป็นไปเพื่อความเฉลียวฉลาดแล้ว ให้ถือว่านั้นเป็นของใช้ได้ เป็นการถูกกับหลักธรรมของพระพุทธเจ้า เพราะฉะนั้นในสถานที่นี้หรือเวลานี้จะขออธิบายตามอัตโนมัติ หรือความรู้โดยตนได้พิจารณาอย่างไรให้บรรดาท่านทั้งหลายฟัง
           เวทนานอก นั้นหมายถึงกายเวทนา เวทนาในหมายถึงจิตเวทนา คือเวทนาซึ่งเกิดขึ้นในส่วนแห่งกาย จะเป็นการเจ็บท้อง ปวดหัวก็ตาม เจ็บส่วนแห่งอวัยวะ หรือปวดที่ตรงไหนทุกข์ที่ตรงไหนก็ตามในส่วนแห่งอวัยวะนี้ทั้งหมด เรียกว่าเป็นเวทนานอก จะเป็นสุขทางกายก็ตาม เฉย ๆ ขึ้นทางกายก็ตาม จัดว่าเป็นเวทนานอกทั้งนั้น ส่วนเวทนาในนั้น หมายถึงใจได้รับอารมณ์อันใดขึ้นมา เพราะอำนาจของสมุทัยเป็นเครื่องผลักดัน เกิดความทุกข์ขึ้นมาบ้าง เกิดความสุขความรื่นเริงขึ้นมาบ้าง เฉย ๆ บ้าง เรียกว่าเวทนาใน การพิจารณาเวทนานอก การพิจารณาเวทนาใน มีไตรลักษณ์เป็นเครื่องยืนยันหรือเป็นเครื่องตัดสิน เป็นเครื่องดำเนินด้วยกันทั้งนั้น แต่เมื่อเราได้พิจารณาในส่วนกายให้เห็นชัด ส่วนเวทนานอกขึ้นอยู่กับกายนี้ชัดแล้ว แม้จะพิจารณาเวทนาส่วนภายในนี้ก็ย่อมจะชัดไปได้ เพราะอำนาจของปัญญาที่มีความละเอียดเข้าไปเป็นลำดับ นี่การพิจารณาสติปัฏฐานพิจารณาอย่างนี้
           พิจารณา จิตตามปริยัติท่านกล่าวไว้นั้น บรรดาท่านผู้ฟังทั้งหลายก็พอเข้าใจแล้ว กระแสของใจเรามีความเกี่ยวข้องกระดิกพลิกแพลงไปในอารมณ์อันใด คอยสังเกตความเคลื่อนไหวของใจอยู่เสมอ นี่เรียกว่าพิจารณาจิต คือพิจารณาในขณะเดียวกันนั่นเอง เวลานั่งหรือเวลายืนเวลาทำความเพียรอยู่นั้นเอง ในกาลในสมัยเดียวนั้นเองสามารถที่จะพิจารณาสติปัฏฐานทั้งสี่นี้ไปพร้อม ๆ กันได้
           เพราะ อาการทั้งสี่นี้เป็นสิ่งที่ปรากฏขึ้นสับสนปนเปกันอยู่ตลอดเวลา ไม่ได้มีการกำหนดว่ากาย้องปรากฏขึ้นก่อน แล้วเวทนาเป็นที่สอง จิตเป็นที่สาม ธรรมเป็นที่สี่ ไม่ใช่อย่างนั้น เป็นสิ่งที่สัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันอยู่ทั่วสรรพางค์ร่างกายและจิตใจของเรา ล้วนแล้วตั้งแต่เป็นเรื่องของสติปัฏฐาน ๔ ทั้งนั้น การที่เราจะพิจารณาในส่วนสภาวะทั้งหลายที่ปรากฏขึ้นมาสัมผัสกับใจของเราส่วน ใดนั้น เป็นเรื่องถูกต้อง
           เมื่อ ท่านผู้ใดเป็นผู้หักห้ามร่างกายจิตใจของตน บังคับจิตใจของตนให้ท่องเที่ยวอยู่ในสติปัฏฐานทั้งสี่นี้แล้ว เรื่องของสติก็ดี เรื่องของปัญญาก็ดี จะเป็นขึ้นในสถานที่นี้ คำว่าอริยะที่ท่านกล่าวตั้งแต่เบื้องต้นว่า โสดา สกิทา อนาคา อรหันต์ ก็ต้องได้อุบายไปจากธรรมทั้งสี่ประเภทนี้เอง ด้วยอำนาจของปัญญา เมื่อพิจารณาให้เห็นชัดแจ่มแจ้งตามเป็นจริงในสภาวะนี้แล้ว ควรจะได้รับผลในธรรมขั้นใดก็ต้องปรากฏขึ้นเป็นขั้น ๆ ตามแต่กำลังความสามารถของตนจะพิจารณาได้ในธรรมขั้นไหน เพราะเหตุนั้นผลจึงปรากฏขึ้นว่าเป็นพระโสดาบ้าง เป็นพระสกิทาคาบ้าง เป็นพระอนาคาบ้าง เป็นพระอรหันต์บ้าง อย่างนี้
           การ พิจารณาสติปัฏฐานทั้งสี่ก็ดี การพิจารณาในอริยสัจธรรมทั้งสี่ก็ดี อย่าพึงทราบว่าเป็นคนละทาง และอย่าพึงทราบว่าเป็นคนละประเภท เป็นคนละหน้าที่ ต่างกันตั้งแต่ชื่อเท่านั้น ในหลักธรรมชาติแล้วเป็นอันเดียวกัน กายก็ ทุกฺขํ อริยสจฺจํ ชาติปิ ทุกฺขา ชราปิ ทุกฺขา มรณมฺปิ ทุกฺขํ นี้เรียกว่ากาย
           การ พิจารณาในความทุกข์ความลำบากความทรมานของกายนี้ ก็จัดเป็นกายานุปัสสนาด้วย เป็นทุกขสัจด้วย การพิจารณาถึงเรื่องเวทนาที่เกิดขึ้นทั้งส่วนแห่งกาย ทั้งส่วนแห่งใจ ก็จัดว่าเป็นการพิจารณาเพื่อจะรื้อถอนถึงเรื่องของสมุทัย และทุกข์ทั้งหลายที่ปรากฏขึ้นเป็นตัวผลในส่วนแห่งกายก็ดี ในส่วนแห่งจิตก็ดี นี้เป็นเรื่องของทุกข์ การพิจารณาเพื่อจะรู้สาเหตุแห่งความทุกข์ที่เกิดขึ้นนี้เกิดขึ้นมาจากอะไร นี่เป็นอุบายที่จะถอนสมุทัยซึ่งเป็นรากสำคัญอยู่ภายในใจพร้อม ๆ กันไปแล้ว
           เพราะ เหตุนั้นอริยสัจธรรมทั้งสี่ก็ดี เรื่องสติปัฏฐานธรรมทั้งสี่ก็ดี พึงทราบว่าธรรมชาตินี้เป็นอันเดียวกัน ต่างกันแต่ชื่อเท่านั้น ถ้าจะเทียบอุปมาแล้วก็เหมือนดังกับว่า กายของเราทั้งหมดนี้ เราให้ชื่อว่าข้างหน้าข้างหนึ่ง ข้างหลังอย่างหนึ่ง ข้างซ้ายอย่างหนึ่ง ข้างขวาอย่างหนึ่ง ข้างบนอย่างหนึ่ง ข้างล่างอย่างหนึ่ง แต่ไม่ใช่ว่าข้างบนที่ไหนนอกไปจากกาย ข้างล่างที่ไหนนอกไปจากกาย ข้างหน้าข้างหลัง ข้างซ้ายข้างขวาที่ไหนนอกไปจากกายอันนี้ ออกจากกายอันเดียวกันทั้งนั้น เพราะเหตุนั้นลักษณะอาการที่ท่านว่า ในอริยสัจธรรมทั้งสี่ก็ดี สติปัฏฐานธรรมทั้งสี่ก็ดี พงทราบว่าออกจากธรรมชาติอันเดียวนี้
           เมื่อ ปัญญาของเราได้พิจารณาให้เห็นชัดในส่วนรูป เรียกว่า กายานุปัสสนา ให้เห็นชัดตามเป็นจริง เพราะอำนาจของปัญญาเราพิจารณาไม่หยุดยั้งแล้ว ความปล่อยวางในกายนี้ก็จะปรากฏขึ้นชัดภายในจิตใจของเรา เรียกว่าถอนอุปาทานของกายเสียได้ เมื่อพิจารณาถึงเรื่องเวทนาทั้งสามให้เห็นชัดตามเป็นจริงเช่นเดียวกับส่วน แห่งกายนี้แล้ว สติ ความจำได้หมายรู้ สังขาร ความปรุง ความคิด วิญญาณ ความรับรู้ในสิ่งต่าง ๆ ที่ปรากฏขึ้นมาทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย เห็นชัดเช่นเดียวกันแล้ว ความปล่อยวางในสิ่งทั้งหลายเหล่านี้จากความเป็นตน จากความเป็นเรา เป็นของเรา ก็ต้องปล่อยวางเช่นเดียวกันกับเราปล่อยวางกายเช่นนั้น
           การ กล่าวมาทั้งหมดนี้ หรือการพิจารณาในสภาวธรรมทั้งหลายเหล่านี้ พิจารณาตามขั้นของจิตที่มีความเกี่ยวข้อง ติดมั่นพัวพันอยู่ในส่วนใด ก็ต้องคลี่คลายเปิดเผยให้จิตดูว่ามีอะไรบ้างอยู่ภายในนี้ เช่นอย่างพิจารณากาย เหตุที่จะพิจารณากายก็เนื่องจากว่าใจไปสำคัญกายนี้ว่าเป็นอะไรบ้าง ไม่รู้กี่ช่องกี่ทาง ไม่รู้กี่สมมุตินิยมที่ใจไปทำความหมายขึ้นจากกายท่อนเดียวหรือก้อนเดียวนี้ ว่าเป็นสัตว์บ้าง ว่าเป็นบุคคลบ้าง ว่าเป็นหญิง ว่าเป็นชายบ้าง ว่าเป็นของสวยของงามบ้าง ว่าเป็นที่น่ารักใคร่ชอบใจบ้างเหล่านี้ ล้วนแล้วตั้งแต่เกิดขึ้นเป็นความสำคัญที่เกี่ยวกับกายทั้งนั้น
           เมื่อปัญญาได้คลี่คลายดูให้เห็นชัดว่ามีเราอยู่ที่ไหนมีเขาอยู่ที่ไหนในกาย อันนี้ มีของสะอาดของสวยงามอยู่ที่ไหน มีของเที่ยงแท้ถาวรที่ไหน มีความเป็นของเที่ยงที่ไหน มีความไม่แปรอยู่ที่ไหน มีอตฺตา หิอยู่ที่ไหนในส่วนแห่งกายนี้ชี้แจงแสดงโดยทางปัญญาให้ใจได้เห็นชัด ก็เทียบกับว่าคลี่คลายดูสิ่งปกปิดให้ใจให้เห็นชัด ให้ใจได้หายสงสัยในสิ่งเหล่านี้ ว่าไม่ใช่เป็นสิ่งที่เป็นไปตามจิตของตนมุ่งหวัง ว่าเป็นเราเป็นของเราเป็นต้น แล้วจิตก็จะปล่อยวางจากสภาพทั้งหลายเหล่านี้โดยอัตโนมัติของตนเอง ไม่ต้องบังคับให้ถอดให้ถอนให้ปล่อยให้วางแต่อย่างใด เพราะจิตได้เห็นชอบตามปัญญาแล้ว นี่ปล่อยวางมาอย่างนี้
           การพิจารณาเวทนาก็คลี่คลายเช่นเดียวกันกับที่ส่วนกายนี้ให้จิตได้เห็นชัด คลี่คลายดูเวทนาทั้งสาม สุข ทุกข์ เฉย ๆ คลี่คลายดูสัญญาให้ชัดคลี่คลายดูสังขารให้ชัดคลี่คลายดูวิญญาณให้ชัด โดยลักษณะเช่นเดียวกันกับคลี่คลายในส่วนกายด้วยปัญญาให้จิตได้ตรองตามปัญญา รู้ตามปัญญาที่ชี้ช่องบอกทางได้เห็นอย่างแจ่มแจ้งชัดเจนแล้วก็ไม่ต้องบังคับ ให้ถอดถอนจากสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ โดยความถือว่าเป็นเราเป็นของเราเป็นต้นเสียนี่เราก็ไม่ต้องบังคับอีกเช่น เดียวกัน
           เพราะอำนาจของปัญญาได้หยั่งทราบทั่วถึงหมดแล้วเปิดดูให้เห็นชัดไม่มีอันใด ลี้ลับเพราะอำนาจของปัญญาจิตก็ถอนเข้ามา ๆกระแสของใจที่วิ่งอยู่ริก ๆ ๆ ต่อสภาวะทั้งหลายเหล่านี้ พร้อมทั้งสัญญาที่มีความสำคัญมั่นหมายในสิ่งทั้งหลายเหล่านั้นก็เป็นอันถอด ถอนมาพร้อม ๆ กัน
           การเห็นโทษในสภาวธรรมทั้งหลายเบื้องต้นก็ต้องเห็นโทษในสภาวธรรมเพราะเราไป เห็นคุณในสภาวธรรม แต่เมื่อได้พิจารณาในสภาวธรรมส่วนหยาบมีรูปเป็นต้น
           แล้วให้ชัดด้วยปัญญาสภาวะทั้งหลายเหล่านั้นก็หมดความลี้ลับเป็นธรรมที่เปิด เผยเป็นสภาวธรรมที่เปิดเผย โดยทางปัญญา เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เมื่อได้พิจารณาโดยทางปัญญาแล้วก็กลายเป็นธรรมที่เปิดเผยอีกเช่นเดียวกัน ยิ่งจะเห็นกระแสของใจที่เพ่นพ่านอยู่ทั้งวันทั้งคืนเป็นเรื่องที่ว่าตื่นเงา ของตัวอยู่ตลอดเวลาให้ชัดขึ้นแล้วในขณะนี้

           แต่ก่อนถูก รูป เสียง กลิ่น รส เครื่องสัมผัสและความสำคัญมั่นหมายในสิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องปกปิดกำบัง กระแสของใจ จึงไปเห็นสิ่งทั้งหลายเหล่านั้นกลายเป็นคุณเป็นโทษไปเสียหมด โดยเราเป็นผู้บริสุทธิ์พุทโธแต่ผู้เดียวทั้ง ๆ ที่เราเป็นผู้หลงต่อผู้หลงนั่นเองต่อเมื่อได้คลี่คลายสภาวะทั้งเป็นฝ่ายรูป ทั้งเป็นฝ่ายนามให้ชัดเจนด้วยปัญญาอย่างไม่มีข้อสงสัยแล้วก็ยิ่งจะเห็นกระแส ของใจเห็นกระแสของใจชัดจนกระทั่งถึงเห็นรากฐานของอวิชชาซึ่งเกิดขึ้นจาก ธรรมชาติที่รู้ ๆ เป็นบ่อเกิดแห่งกระแสของใจนี้ ชัดเจนเข้าไปเช่นเดียวกับสภาวธรรมทั้งหลายแล้วเรียกว่าเปิดเผยขึ้นอีก
           คลี่คลายดูความรู้ที่เป็นเจ้าวัฏจักรเป็นความรู้ที่โกหกนี้ให้เห็นชัดด้วย ปัญญาธรรมชาติอันนี้ก็เลยกลายเป็นความเปิดเผยขึ้นมาอีกไม่มีอันใดที่เหลือ หลออยู่ เมื่อธรรมชาติอวิชชาที่เป็นความรู้ลี้ลับเป็นความรู้ที่เต็มไปด้วยโกหกมายา สาไถยให้เห็นชัดด้วยปัญญานี้แล้วธรรมชาติที่ลี้ลับ ธรรมชาติที่ละเอียดที่สุดได้แก่อวิชชาคือความรู้ที่เป็นเจ้าวัฏจักรอันนี้ ได้แตกกระจายหรือเป็นธรรมที่เปิดเผยขึ้นมาแล้วนั้นแลเราจึงจะหมดปัญหาใด ๆ ในเรื่องความปกปิดแห่งสภาวธรรมทั้งหลายก็ดีในเรื่องความลุ่มหลงแห่งสภาวธรรม ทั้งหลายก็ดีไม่มีอันใดที่จะเหลือหลออยู่แล้ว
           จากนั้นไปแล้วธรรมชาติที่บริสุทธิ์พุทโธโดยไม่ต้องเสกสรรแต่อย่างใดได้ปรากฏ เด่นชัดขึ้นมาตามหลักธรรมชาติของตนอย่างแจ่มแจ้งแล้วนั้นเรื่องทั้งหลายจึง จะเป็นอันว่าเปิดเผยอยู่ตลอดเวลารูปไม่เพียงแต่ว่ารูปหญิงรูปชายรูปสัตว์รูป บุคคลรูปสภาวะทั่ว ๆไปทั่วทั้งจักรวาลนี้ กลายเป็นสิ่งที่เปิดเผยขึ้นมาพร้อม ๆกันนามก็เหมือนกัน เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ทุก ๆอย่างซึ่งไม่มองเห็นด้วยตาก็กลายเป็นธรรมที่เปิดเผยขึ้นมาพร้อม ๆกัน
           เพราะเหตุใดเพราะบ่อเกิดแห่งความลี้ลับได้แก่อวิชชานั้นได้ถูกเปิดเผยขึ้นมา แล้วอย่างชัดเจนด้วยอำนาจของปัญญาสภาวะทั้งหลายทั่วไปทั่วโลกธาตุนี้จึงเป็น อันว่ายุติไม่ได้เกิดเรื่องเกิดราวกับจิตใจของเราต่อไปแล้ววัฏจักรเป็นอัน ว่ายุติกันลงได้ในจุดนี้เอง ต่อจากนั้นไปก็ไม่มีอะไรที่จะเป็นสิ่งลี้ลับต่อใจดวงนี้ไปได้อีกแล้ว
           ตามภาษาบาลีท่านกล่าวไว้ว่า วุสิตํ พฺรหฺมจริยํ, กตํ กรณียํ หมดกิจในพระศาสนาหมดทั้งความบำเพ็ญเพื่อใจดวงนี้ให้เจริญยิ่งขึ้นไปอย่างไร อีกหมดทั้งการละการถอนความลี้ลับหรือปิดบังอันใดต่อไปอีกไม่มีเป็นอันว่า สภาวะทั้งหลายได้เปิดเผยเสียทุกอย่างพร้อมทั้งความบริสุทธิ์พุทโธนั้นก็ได้ เปิดขึ้นมาพร้อม ๆกันกับสภาวธรรมทั้งหลายได้เปิดขึ้นมานี่เรียกว่าธรรมเปิดเผยวัฏจักรก็ได้ เปิดเผยวิวัฏจักรก็ได้เปิดเผยขึ้นในขณะเดียวกัน
           นี่ผลแห่งการปฏิบัติผลแห่งการตั้งจิตั้งใจเริ่มตั้งสติปัญญาเริ่มจำเพาะ เจาะจงเริ่มอุตส่าห์พยายามบำเพ็ญตนของตนด้วยความจำเพาะเจาะจงด้วยความตั้งอก ตั้งใจ ตั้งแต่เบื้องต้นจนกระทั่งถึงธรรมที่เปิดเผยไปเสียทั้งสิ้นไม่มีอันใดลี้ลับ ในโลกธาตุนี้แม้แต่ว่าวิ วัฏฏะ ที่เรียกว่า พระนิพพานนั้นก็เป็นการเปิดเผยขึ้นมาพร้อม ๆกันเรียกว่า วุสิตํ พฺรหฺมจริยํ
           เพราะเหตุนั้นบรรดาท่านผู้ฟังทั้งหลายให้พึงโอปนยิโกน้อมเข้ามาสู่ตัวของตัว ทั้งหมดในบรรดาธรรมทั้งหลายที่ได้อธิบายมานี้เวลานี้เรากำลังอยู่ในความลี้ ลับอันใดก็ลี้ลับเสียทั้งนั้นสำหรับเราซึ่งกำลังลุ่มหลงอยู่รูปจะเป็นรูป ชั่วก็ตามรูปดีก็ตามมันให้เกิดได้ทั้งความดีใจและเสียใจ สิ่งเหล่านั้นจึงกลายเป็นของลี้ลับ
           เพราะธรรมชาติอันหนึ่งซึ่งเป็นของใหญ่โตที่สุด แต่เราไม่มองเห็นด้วยตาและไม่สามารถที่จะรู้ได้ด้วยใจด้วยนั้นคืออวิชชา แต่มันก็อยู่กับใจนั่นเองแต่เราไม่สามารถที่จะรู้ธรรมชาตินั้นเป็นธรรมที่ ลี้ลับที่สุดสิ่งทั้งหลายซึ่งเป็นบริษัทบริวารที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาตินั้น เลยกลายเป็นของลี้ลับไปตาม ๆกันพอธรรมชาตินี้ได้ถูกเปิดเผยขึ้นแล้วด้วยปัญญาเท่านั้นสภาวธรรมทั้งหลาย ก็ได้เปิดเผยหมด จนกระทั่งถึงวิวัฏฏะคือพระนิพพานเสียเองก็ถูกเปิดเผยไปพร้อม ๆ กันนี่ท่านแนะการปฏิบัติเพื่อความเปิดเผยอย่างนี้
           เราทำข้อวัตรปฏิบัติทุกชิ้นทุกอันก็ตาม เพื่อความเปิดเผยทั้งสิ่งที่เป็นวัฏฏะทั้งสิ่งที่เป็นวิวัฏฏะขอให้บรรดาท่าน ผู้ฟังทั้งหลายได้กำหนดพินิจพิจารณาเข้ามาสู่ตนของตนเสมอให้เป็นผู้มีความ เป็นอยู่ด้วยสติด้วยปัญญาทุกอิริยาบถพวกท่านทั้งหลายจะได้เห็นความเปิดเผย ทั้งวัฏจักรด้วย ทั้งวิวัฏจักรด้วยในสนฺทิฏฺฐิโกความเห็นเองของบรรดาท่านทั้งหลายเอง
           ในอวสานแห่งพระธรรมเทศนานี้ขอบุญญานุภาพแห่งองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ทั้งพระธรรมและพระสงฆ์จงดลบันดาลให้บรรดาท่านทั้งหลายให้มีความเจริญงอกงาม
แสดงธรรมโดย พระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน
เทศน์อบรมพระ ณ วัดป่าบ้านตาด
เมื่อวันที่ ๒๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๐๕
ที่มา: วิชาการ.คอม : www.vcharkarn.com

การละสักกายทิฏฐิ

การละสักกายทิฏฐิ


พระโสดาบันคือผู้ละสักกายทิฏฐิได้เด็ดขาด พวกเราผู้ที่ปรารถนาจะบรรลุโสดาบันปัตติผลจึงควรสนใจศึกษาเรื่องสักกายทิฏฐิให้ดี

สักกายทิฏฐิคือ ความเห็นผิดว่ากายใจหรือรูปนามหรือขันธ์ 5 เป็นตัวเราของเราอย่างแท้จริง   ดังนั้นเมื่อปรารถนาจะละความเห็นผิดเกี่ยวกับรูปนาม   ก็จำเป็นต้องศึกษาเข้ามาที่รูปนามหรือกายใจของตน   จะเที่ยวไปศึกษาเรื่องอื่นเพื่อจะทำลายความเห็นผิดเกี่ยวกับรูปนามไม่ได้   จำเป็นต้องหมั่นศึกษารูปนามของตนจนเกิดความรู้ถูกเข้าใจถูก ว่าตัวเราไม่มี   มีแต่รูปกับนาม เมื่อเกิดความรู้ถูกแล้ว   ความเห็นผิดก็เป็นอันถูกละไปเองเรียบร้อยแล้ว

การศึกษารูปนามเพื่อให้เกิดความรู้ถูกเข้าใจถูกนี้เองคือสิ่งที่เรียกว่า การ เจริญวิปัสสนา   ดังนั้นถ้าจะเจริญวิปัสสนาก็ต้องรู้รูปนาม   ถ้าพยายามหรือหลงไปรู้สิ่งอื่นก็ไม่ใช่การเจริญวิปัสสนา   นี้แหละเป็นทางเดียวที่จะช่วยให้ผู้ปฏิบัติละสักกายทิฐิได้
          สักกายทิฏฐินั้นชื่อของมันก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นความคิดความเห็นและตามธรรมดา ของปุถุชนนั้นย่อมจะมีความเห็นผิดอยู่เสมอ   จะให้เห็นถูกอย่างพระอริยบุคคลไม่ได้   แม้จะพยายามใช้ความคิดหรือใช้ความเห็นพิจารณารูปนามของตนอย่างไร   ก็จะเข้าใจได้เพียงแค่ว่าตัวเรามีอยู่   แต่อาจจะมีอยู่อย่างถาวรในลักษณะที่ว่าเมื่อกายนี้ตายลงจิตวิญญาณก็ออก จากร่างไปเกิดใหม่   หรือบางคนก็เห็นว่าเรามีอยู่   แต่มีอยู่เพียงชั่วคราวเมื่อตายแล้วก็ขาดสูญไปเลยก็ได้
          ความเห็นผิดว่าเรามีอยู่นี้แหละคือสักกายทิฏฐิ   ไม่ว่าจะพยายามคิดอย่างไรว่าเราไม่มี   สิ่งที่รู้สึกได้ก็ยังมีเราอยู่นั่นเอง
 
          แต่พวกเราเกิดความรู้สึกตัวและตื่นขึ้นมาอย่างฉับพลัน   เราจะหลุดออกมาจากโลกของความคิดมาอยู่กับโลกของความจริงอันมีสภาพรู้ ตื่น และเบิกบาน   จากนั้นเมื่อสติเกิดระลึกรู้กายก็จะรู้สึกได้ทันทีว่ากายไม่ใช่เรา   แต่เป็นเพียงก้อนธาตุหรือรูปธรรมที่มาประชุมกันอยู่ชั่วคราว   มีธาตุหมุนเวียนไหลเข้าไหลออกเป็นนิจ   มีความทุกข์บีบคั้นอยู่เป็นนิจ   และไม่อยู่ในอำนาจบังคับ   และเมื่อสติเกิดระลึกรู้จิตก็จะรู้สึกได้ว่าจิตและเจตสิกไม่ใช่เรา   แต่เป็นเพียงสภาพธรรมบางอย่างที่รู้อารมณ์   มีลักษณะเกิดดับต่อเนื่องกันไปอย่างรวดเร็ว   ไม่คงทนอยู่ได้และบังคับไม่ได้   เมื่อเห็นอย่างนี้มากเข้าในที่สุดปัญญาก็จะแก่รอบ   แล้วเกิดความรู้ความเข้าใจและยอมรับความจริงขึ้นอย่างฉับพลันว่าเราไม่มี   มีแต่รูปกับนามซึ่งเกิดดับหมุนเวียนเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุตามปัจจัย   สักกายทิฏฐิก็เป็นอันถูกทำลายลงไปในทันทีนั้น
          ขอให้พวกเราหยุดความพยายามที่จะทำลายสักกายทิฏฐิด้วย วิธีการต่างๆ แล้วหันมาปลุกจิตให้ตื่นขึ้นเป็นจิตผู้รู้  ผู้ตื่น  ผู้เบิกบาน แทนที่จะเป็นเพียงจิตผู้คิด ผู้นึก ผู้ปรุง ผู้แต่ง เมื่อจิตตื่นขึ้นมาแล้วก็หมั่นมีสติตามรู้กายตามรู้ใจอยู่เนืองๆ นี้ไม่ใช่เรื่องที่ยากเลย   แต่มันยากตรงที่พวกเราเอาแต่คิดหรือพยายามหาวิธีปฏิบัติต่างๆ นานา   แทนที่จะทำตามคำสอนของพระพุทธเจ้า คือรู้สึกตัวตื่นขึ้นมาแล้วตามรู้กายตามรู้ใจไปตามความเป็นจริงด้วยจิตใจที่ ปกติธรรมดานี้เอง
โดย พระอาจารย์ปราโมทย์ ปาโมชฺโช

ที่มา: วิชาการ.คอม: www.vcharkarn.com
 

คำสอน โดย หลวงปู่หลุย จนฺทสโร



คำสอน โดย หลวงปู่หลุย จนฺทสโร

ถ้ามีแต่สมาธิอย่างเดียว
ต้องมีนิมิตต่างๆ หลอกอยู่เรื่อยๆ ..ทำให้เป็นบ้าได้

ย่อมไม่เกิดนิมิตเพราะไตรลักษณ์ล้างอยู่เสมอ
และไม่สำคัญตน ไม่เป็นบ้า
          เกิดนิมิตทั้งหลายก็รู้เท่าทัน
          เมื่อนิมิตเกิดขึ้น .. เราไม่ต้อนรับหนึ่ง นิมิตก็หายไปอีก
          เพ่งไตรลักษณ์ล้างอีกที นิมิตก็หายไป เพราะมันไม่เที่ยง
          วางเจตนา ก็หายวิตกวิจารถือของนั้นเป็นของดี
          ทวนกลับเข้าจิตเดิมก็หาย
          อย่าอธิษฐานนิมิตนั้นว่าเป็นของดี

          * ปัญญาอบรมสมาธิ .. เพราะว่าจิตฟุ้งซ่าน
          ต้องใช้ปัญญาเป็นกรณีแวดล้อมปลอบโยนจิตให้เป็นสมาธิ
          เป็นอุบายให้จิตสงบเท่านั้นเพื่อจะได้เดินปัญญาให้สะดวก
          จิตของพระอรหันต์ก็นิพพาน ธาตุตายไปแล้วตัวอมตะยังอยู่
          สิ่งที่รู้ด้วยปัญญานั้นเองเป็นอมตธรรม
          เรียกสติก็ได้ เรียกนิพพานก็ได้




โดย หลวงปู่หลุย จนฺทสโร
ที่มา: วิชาการ.คอม: www.vcharkarn.com

 

ปริศนาธรรมของหลวงปู่ขาว


ปริศนาธรรมของหลวงปู่ขาว
ผม (หลวงปู่จันทา ถาวโร) อยู่กับครูบาอาจารย์ คือหลวงปู่ขาว ท่านสอนอย่างไรก็ประพฤติอย่างนั้น ท่านว่าบาปก็บาปจริง จงละ ท่านว่าบุญก็บุญจริง ก็ประพฤติปฏิบัติ ท่านสอนให้ไม่ให้ห่วงอาลัยในชีวิตสังขาร อย่าเพิ่งยึดถือมากเกินไปนะ จะเป็นเครื่องผูกมัดให้หลงในภพชาติสังขาร ยึดถือเพียงแต่ว่าเป็นปัจจัย เครื่องอาศัยชั่วคราว ร่างกายนี้เป็นโรงงานใหญ่ เราคือใจเป็นเจ้าของ สำหรับที่จะทำงานหาผลรายได้ คือบุญกุศล มรรคผล ธรรมอันวิเศษ เกิดขึ้นจากโรงงานใหญ่นี้ทั้งนั้น
๑. ใฝ่ร้อนจะนอนเย็น ใฝ่เย็นจะเข็ญร้อน ภายหลังจะดิ้นตาย
           ท่าน สอนบ่อยนะ นั่นแหละก็พิจารณาปัญหานี้ว่า - ใฝ่ร้อนจะนอนเย็น โอ๋ …หมายความว่า ให้รีบประพฤติปฏิบัติ ทำคุณงามความดี อดนอนผ่อนอาหาร เผากิเลสให้เร่าร้อน ทั้งวันคืน ไม่หวั่นไหวต่อร้อนหนาวและหิวกระหาย ทีนี้เมื่อจิตสงบลงไปได้ขณิกะ ก็ดี อุปจาระก็ดีนะ หรือเจ็บไข้ได้ป่วยอะไรก็ดี ก็นอนเย็นสบาย หิวกระหายก็ไม่มีก็นอนเย็นสบายดี
           นี่ แหละ จะนอนเย็น เมื่อความตายมาถึงก็นอนเย็น เย็นใจ แม้กามันจะร้อนก็เรื่องของกาย แต่ใจนั้นมันเย็น ใจเย็นอยู่กับพุทโธ ธัมโม สังโฆ อยู่กับคุณงามความดี ที่ได้ทำไว้นั่นแหละ จึงเรียกว่า จิตเต อะสังกิลิฎเฐ สุคะติ ปาฎิกังขา เมื่อจิตฝึกฝนอบรมได้ดีแล้ว สุคติเป็นที่ไปเบื้องหน้า โดยไม่ต้องสงสัย - ใฝ่เย็นจะเข็ญร้อน ภายหลังจะดิ้นตาย เป็นผู้ประมาทอยู่นะ ประมาทไม่เร่งทำความเพียรนั่นแหละ ผลัดวันปันเวลาอยู่เสมอ ฉะนั้น เมื่อไฟร้อนมาถึงภายหลังจะดิ้นตายคือว่า ความเจ็บไข้ได้ป่วยมาถึงจะดิ้นตาย หรือเหตุเภทร้ายเกิดขึ้นเผชิญหน้า มีเรื่องราวต่าง ๆ เกิดขึ้นก็จะดิ้นตาย ไม่มีสติปัญญาแก้ตนออกจากของชั่วช้าลามกได้ นั่นแหละจะดิ้นตาย
           ฟังธรรมะบทบาทนี้แล้วก็พอใจ ตั้งใจทำความเพียรอยู่เป็นนิจ นี่เป็นธรรมที่หลวงปู่ขาว ท่านสอนอยู่เป็นนิจ
๒. รีบพายเรือ ตะวันจะสาย ตลาดจะวาย สายบัวจะเน่า
           รีบ ภายเรือแม่ รีบพายเรือพ่อ ตะวันจะสาย ตลาดจะวาย สายบัวจะเน่า รีบพายเรือ ท่านพูดเพียงแค่นั้น ท่านก็ไม่แปลให้ฟัง ทีนี้ ก็มาทำความเพียร เมื่อจิตรวมลงไปนั้น ถึงอุปจารธรรมแล้ว ตั้งมั่น ก็กำหนดถามผู้รู้คือใจ นั่นแหละ
           รีบพายเรือ ได้แก่อะไร
           ตะวันจะสายได้แก่อะไร
           ตลาดจะวาย สายบัวจะเน่าได้แก่อะไร
           พระ ธรรมพูดขึ้นที่หัวใจว่า รีบพายเรือ คือ รีบเดินจงกรม เดินภาวนา ยืนภาวนา นั่งภาวนา อดนอนผ่อนอาหารพิจารณาธาตุขันธ์ น้อมลงสู่ไตรลักษณ์เห็นแจ้งประจักษ์ทุกเมื่อ จิตจะรวมลงสู่ภวังคภพอันแน่นแฟ้นแล้วเห็นของจริง อะไรบ้าง อยู่ในตลาดนี้ ร่างกายนี้ เปรียบเหมือนตลาดนั่นแหละ มีทุกอย่างทุกประการ รีบขายของ รีบรื้อถอน ของออกจากใจ คือกิเลส เมื่อเก็บเอาได้แล้วนั่นแหละ เป็นผู้ชายของขาด ถึงไม่หมดก็แปลว่าขาดนั่นแหละ รีบพายเรือ
           ตะวันจะสาย คือมันจะแก่ นั่นแหละ รีบทำคุณงามความดี ร่างกายนี้มันจะแก่
           ตลาด จะวาย สายบัวจะเน่า ก็คือ ตาย ร่างกายเปรียบเสมือนสายบัว วายคือตาย สายบัวมันก็เน่า เปื่อยเน่าเท่านั้น เมื่อถึงสภาพเปื่อยเน่า แล้วก็ไม่มีอะไรเป็นของ ๆ เราแท้
           นี่แหละปัญหาธรรมของจริง ที่นักปราชญ์ท่านสอน คือ หลวงปู่ขาวนั่นแหละ ผมจำได้แล้วก็เร่งทำความดีอย่างนั้นไม่ลดละ ก็สบายนั่นแหละ

๓. บ้านใกล้ครั่ง ย้อมครั่งไม่แดง นอนตะแคง ผิงแดดไม่อุ่น สวดจุ้มกุ้มมืองุ่มไม่ถึง
           นี่ ท่านก็พูดบ่อย "แปลว่าอะไรหลวงปู่ ? ""ไปภาวนาแปลเอา แปลให้รู้แล้วมันขี้เกียจขี้คร้าน ทำความเพียร มันไม่สิ้นสงสัย " ผม(หลวงปู่จันทา) ก็เร่งความเพียรอย่างนั้น นั่นแหละอดนอนผ่อนอาหาร จิตรวมสู่ขณิกสมาธิได้ เย็นกาย เย็นจิต จิตลหุตา จิตเบา กายลหุตา กายเบา นั่นแหละ อันนี้เป็นผลรายได้จากการเจริญความเพียร
           โอ๋… การเจริญธรรมผู้ประกอบให้ทุกข์เกิดขึ้น นี่จะเป็นผู้เห็นธรรมได้ ผู้ใดทำความเพียร ติดสุข ไม่เห็นธรรมนะ
           ผู้ ใดทำความเพียร เอาทุกข์เป็นอารมณ์ของสติ เป็นอารมณ์ของใจ เผากิเลสให้ใจเร่าร้อน อย่างนั้น จะเห็นความเป็นไปในธรรมทั้งหลายนั้น ก็เลยกำหนดถามผู้รู้คือใจนี่แหละ
           บ้านใกล้ครั่ง ย้อมครั่งไม่แดง ได้แก่อะไร ?
           ได้แก่ เราเป็นชาวพุทธ ถือศาสนาพุทธนั่นแหละ แต่ไม่ประพฤติปฏิบัติตามพุทธ ถือเฉย ๆ แต่ไม่ยอมประพฤติปฏิบัติตาม ก็เลยไม่รู้ธรรมเห็นธรรม ไม่เป็นไป จิตก็ไม่ได้บรรลุธรรม ไม่ได้ดื่มรสของความสงบ พระโสดาปัตติผล พระสกิทาคามีผล พระอนาคามีผล พระอรหันต์ ไม่มี ไม่เกิดขึ้น นั่นแหละ มีแต่กิเลส เผาใจให้เร่าร้อน อันนี้เรียกว่า ย้อมครั่งไม่แดง
           นอน ตะแคง ผิงแดดไม่อุ่น นี่ได้แก่ ผู้ขี้เกียจขี้คร้าน สะสม คุณงามความดีใส่ตนไว้ ไม่เจริญธรรม เมื่อความเจ็บไข้ได้ป่วยมาถึง ความตายมาถึงแล้ว หาความสุขอะไรไม่มี มีแต่ความเร่าร้อนเกิดขึ้น เผากายเผาจิตให้เร่าร้อนทังวันคืน นั่นแหละ ได้ชื่อว่านอนตะแคงผิงแดดไม่อุ่น
           จะ ไปนอนผิงแดด มันก็ไม่อุ่น มีข้าวของเงินทองมากมาย ก่ายกองจุเมฆ มันก็ไม่มาช่วยเหลือให้อบอุ่นได้ มีแต่เร่าร้อนกระวนกระวาย หิวกระหายอย่างนั้น
           สวด จุ้มกุ้ม มืองุ่มไม่ถึง ได้แก่ ลาภยศสรรเสริญสุข ฝ่ายโลก เขาได้เป็นนายร้อย นายพัน นายพล ข้าหลวง นายอำเภอ ตลอดจนนายกรัฐมนตรี ผู้นำของชาติ ประมุขของชาติ นั่นแหละเขาได้กัน เราก็ไม่ได้ เพราะบุญน้อยวาสนาน้อย พลอยรำคาญ เล่าเรียนแล้วก็ไม่ได้
           ฝ่าย ทางธรรม เขาได้เป็นเจ้าฟ้าเจ้าคุณตลอดจนสังฆราช ประมุขของศาสนา อยากได้แล้วก็ไม่ได้ ทีนี้ทางฝ่ายธรรมเข้าไปอีก พระโสดาปัตติผล พระสกิทาคามีผล พระอนาคามีผล พระอรหัตตผล ก็ไม่ได้ไม่ถึง นั่นเพราะเหตุใด ? เพราะความขี้เกียจขี้คร้าน ไม่สะสมบุญกุศลใส่ตนไว้ ไม่รีบเร่งบำเพ็ญอินทรีย์ธรรมให้แก่ ไม่บำเพ็ญบารมีธรรมให้เกิดมีขึ้นในตน เป็นผู้ติดสุขลืมตน ประมาทท่องเที่ยวเกิดดับภพน้อยภพใหญ่ โอ๊ย…เขาผู้หมั่นขยันนั้น เขาได้ กันสนั่นหวั่นไหว เราก็ไม่ได้ เพราะเราเป็นคนขี้เกียจขี้คร้าน ขี้เซาเหงานอน ครูบาอาจารย์ท่านแนะนำพร่ำสอนอย่างไร ก็ไม่ยอมทำ ทำได้แต่ความชั่ว นั่นแหละความชั่วทำได้ แต่ความดีทำไม่ได้ ผลสุดท้ายก็อับอายขายหน้าเอาแต่ความชั่วอวดเขาทั้งนั้น ไม่ดี

ปริศนาธรรมของหลวงปู่ขาว แก้โดยหลวงปู่จันทา ถาวโร จากหนังสือ  80 ปี หลวงปู่จันทา ถาวโร
ที่มา: วิชาการ.คอม: www.vcharkarn.com
 

๒๐ คำสอนของท่าน ว.วชิรเมธี


๒๐ คำสอนของท่าน ว.วชิรเมธี


๑. กลัวลูกมีเซ็กส์ในวัยเรียน?
ไม่อยากให้เกิด ต้องเอาปัญญาใส่ในมือลูก
ให้เงินลูกน้อยๆ ให้ความรู้แก่ลูกมากๆ ด่าลูกน้อยๆ ให้คำสอนลูกมากๆ

๒. ไหว้พระขอพรอะไรดี?
(๑) ขออย่าให้โลภจนหน้ามืด
(๒) ขออย่าให้โกรธจนทำร้ายตัวเอง
(๓) ขออย่าให้หลงจนไม่รู้ดีรู้ชั่ว
(๔) ขออย่าให้ตายในสงครามระหว่างคนไทยด้วยกันเอง

๓. ท้อแท้กับปัญหามากมายทำอย่างไรดี?
ปลาที่ยังเป็นอยู่ ล้วนเรียนรู้ที่จะว่ายทวนน้ำ
ส่วนปลาตาย มักไหลตามน้ำ
ปัญหาทำให้คนธรรมดาท้อ แต่ทำให้คนมีปัญญาลุกขึ้นมาแก้ไข

๔. ทะเลาะกับแฟนจนไม่มีสมาธิทำงาน?
งานส่วนงาน แฟนส่วนแฟน
รู้จักแบ่งเวลาให้งาน รู้จักแบ่งเวลาให้แฟน
อย่าเสียงานเพราะแฟน อย่าเสียแฟนเพราะงาน

๕. โกรธ! ถูกเพื่อนนินทา?
โบราณว่าไม่มีใครเตะหมาที่ตายแล้ว
คุณถูกนินทาแสดงว่าคุณยังมีความหมาย
คุณเป็นคนโชคดี จู่ๆ ก็มีกระจกวิเศษสะท้อนความอัปลักษณ์
ให้เห็นความบกพร่องของตัวเอง

๖. จับได้ว่าแฟนมีกิ๊กทำอย่างไรดี?
(๑) ถามตัวเองว่าเราดีกับเขาพอหรือยัง
(๒) ระหว่างเรากับกิ๊กมีข้อดีข้อด้อยต่างกันตรงไหน
(๓) ถามแฟนว่าจะเลือกใครก็รีบทำ
ไม่รักฉัน อย่าทำให้ฉันเสียเวลา

๗. โดนเพื่อนร่วมงานแย่งซีนทำอย่างไร?
เขาแย่งจากเราได้เพียงแค่ซีนและภาพลักษณ์เท่านั้น
แต่เขาไม่สามารถแย่งความรู้และความสามารถไปจากเราได้

๘. งานเยอะมากทำอย่างไรดี?
(๑) รู้ว่างานเยอะต้องรีบทำ
(๒) อย่าดองงานข้ามปีข้ามชาติ
(๓) เรียงลำดับความสำคัญของงาน
สำคัญก่อนให้รีบทำ สำคัญน้อยค่อยทยอยทำ

๙. ทำงานดี มีแต่คนริษยา จะรับมืออย่างไร?
โบราณว่า ไม้ใหญ่ย่อมเจอขวานคม
คนเด่นต้องมีคนด่า คนมีปัญญาจึงมีคนลองดี
คนทำงานดีจึงมีคนริษยา ปรากฏการณ์เช่นว่านี้
เป็นของธรรมดา ทำงานดีจนมีคนริษยา
ยังดีกว่าทำงานไม่ดี จึงเป็นได้อย่างดีแค่คนที่คอยริษยา

๑๐. ทำงานแทบตาย เงินไม่พอใช้ ทำอย่างไรดี?
(๑) หางานใหม่
(๒) ลดความต้องการให้น้อยลง อยู่กับความจริงให้มาก
(๓) บริโภคปัจจัยสี่โดยมุ่งประโยชน์ อย่ามุ่งประดับ
(๔) ทำบัญชีรายรับรายจ่าย รับมากกว่าจ่ายจึงนับว่ายอด
จ่ายมากกว่ารับนับว่าแย่

๑๑. ถูกนายด่า อารมณ์เสีย?
คนที่ด่าคนอื่นสะท้อนว่าระบบข้างใจกำลังพัง
คนอารมณ์เสียเพราะถูกด่า
แสดงว่าระบบของตัวเองก็พังตามไปด้วย

๑๒. ไถ่ชีวิตโคได้บุญมากไหม?
ถ้าไถ่แล้วโคอยู่รอด คุณได้บุญ
แต่หากไถ่เพื่อทำให้วัดอยู่รอด คุณได้บาป
แทนที่จะไถ่โคกระบือ
คุณควรไถ่ตัวเองให้พ้นจากความโลภ โกรธ หลง ดีกว่า

๑๓. แฟนติดหนังเกาหลี ดูทั้งคืนไม่ยอมนอน?
ขอให้คิดว่าอย่างน้อยเธอยังนั่งดูอยู่ในบ้าน
ถึงเธอจะติดหนังเกาหลี ก็ยังดีกว่าติดผู้ชายขี้หลีที่อยู่นอกบ้าน

๑๔. ลูกค้าจู้จี้ทำอย่างไรดี?
มีลูกค้าจู้จี้ยังดีกว่าวันทั้งวันไม่มีใครแวะเวียน
ผ่านมาเยี่ยมเยียนถึงในร้าน
ลูกค้าจู้จี้ได้ แต่คุณต้องทำให้เขาประทับใจเอาไว้เสมอ

๑๕. ไปงานวันเกิดควรได้อะไร?
(๑) ได้ถามตัวเองว่า เราเกิดมาเพื่ออะไร
(๒) ได้ถามตัวเองว่า เราเกิดมาจากใคร
(๓) ได้ถามตัวเองว่า เรากตัญญูต่อผู้ให้กำเนิดแล้วหรือยัง

๑๖. สวดมนต์บทไหนดี?
(๑) สวดพุทธคุณเพื่อเตือนว่า จงเป็นผู้ตื่น
(๒) สวดธรรมคุณเพื่อเตือนว่า
จงเว้นสิ่งที่ควรเว้น จงทำสิ่งที่ควรทำ
(๓) สวดสังฆคุณเพื่อเตือนว่า พระอรหันต์ที่แท้
คือพ่อกับแม่ที่อยู่ในบ้านของเรานั่นเอง

๑๗. สามีไม่สนใจธรรมะเลยทำอย่างไรดี?
(๑) เราควรมีธรรมะให้เขาดู
(๒) เราควรอยู่ให้เขาเห็น
(๓) เราควรสงบเย็นให้เขาได้สัมผัส
เนื่องเพราะ หนึ่งการกระทำสำคัญกว่าพันคำพูด

๑๘. โดนขับรถปาดหน้า โมโหมาก?
(๑) บอกตัวเองว่าโกรธคือโง่ โมโหคือบ้า ด่าคือมาร ระรานคือบาป
(๒) เปลี่ยนการด่าเป็นการแผ่เมตตาให้เขาถึงที่หมายโดยปลอดภัย
(๓) เตือนตนไว้ว่า อย่าขับรถปาดหน้าใคร เพราะอาจมีอันตรายรอบด้าน

๑๙. อยู่ในกลุ่มเพื่อนชอบนินทาจะตีจากดีไหม?
ท่านพุทธทาสกล่าวว่า คนชอบนินทาคือคนที่ชอบกินของเน่า
ถ้าเราร่วมผสมโรงไปกับเขา แสดงว่าเราเองก็ชอบกินของเน่าไม่เบาเหมือนกัน

๒๐. ทำไมมักเจอสิ่งที่ไม่ชอบใจอยู่เสมอ?
ผู้รู้บอกว่า ศิลปินอย่าดูหมิ่นศิลปะ กองขยะดูดีๆ ยังมีศิลป์
ดังนั้น ในสิ่งที่คุณไม่ชอบ ย่อมมีแง่มุมที่คุณชอบอย่างแน่นอน
มองอย่างพินิจจะพบว่า ในดีมีเสีย ในเสียมีดี

ที่มา: วิชาการ.คอม: www.vcharkarn.com
 

20120924

แนะ 9 วิธีทำดี ได้บุญ แบบไม่ต้องใช้เงิน



             คนไทยเรานั้น ได้ชื่อว่าเป็นพวกที่ชอบทำบุญสุนทานอยู่เสมอ ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะความเชื่อที่ว่า “ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว” ซึ่งแม้ปัจจุบัน หลายคนจะรู้สึกกังขาว่า ทำไม คนที่เรารู้สึกว่าชั่วยังคงได้ดิบได้ดี เช่น ยังมีเงินทองและใช้ชีวิตที่สุขสบายกว่าเรา แต่นั่นก็ยังอธิบายได้ว่า เขาทำกรรมเก่าดีหรือยังกินบุญเก่าอยู่ ซึ่งที่เราเห็นด้วยตาว่าเขาสุขสบายก็อาจไม่จริง บางทีเขาอาจกำลังทุกข์ใจ เพราะต้องคอยระแวงปกปิดความผิดของตน กลัวคนไปล่วงรู้อยู่ก็ได้ อย่างไรก็ดี โดยพื้นฐานแล้ว คนส่วนใหญ่ก็มักจะชอบทำบุญ เพราะเชื่อว่าเป็นการทำความดี และเป็นการสะสมผลบุญที่จะสนองให้เราได้รับสิ่งที่ดีในอนาคตหรือในชาติหน้า ซึ่งโดยแท้จริงการทำบุญนั้น ทันทีที่ทำก็เป็นความสุขแล้ว เพราะ บุญ คือ การทำความดีด้วยวิธีการต่างๆ ที่ทำให้อิ่มเอิบเบิกบานใจ
โดยทั่วไป คนมักทำบุญกุศลด้วยการบริจาคทรัพย์ สิ่งของ หรือให้ทานเป็นโอกาสๆ เช่น บริจาคช่วยผู้ประสบภัยธรรมชาติ ร่วมสร้างศาสนสถาน ทอดกฐินผ้าป่า ช่วยเด็กกำพร้า หรือช่วยซื้อโลงศพ เป็นต้น ซึ่งนับว่าเป็นสิ่งที่ดี แต่เชื่อไหมว่า ในชีวิตประจำวันของคนเรานั้น เรามีโอกาสทำความดีหรือทำบุญได้ตลอดเวลาโดยไม่ต้องใช้เงินทองหรือสิ่งของ ถึงแม้เราจะไม่ได้มีอาชีพเป็นแพทย์ พยาบาลที่ต้องช่วยเหลือคนเป็นประจำอยู่แล้วก็ตาม จะทำได้อย่างไรนั้น กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม

ขอเสนอแนะ ๙ วิธีทำดี ได้บุญ แบบไม่ต้องใช้เงิน เพื่อเป็นแนวทางให้ท่านได้สะสมกุศลให้เพิ่มพูนขึ้น ดังต่อไปนี้

๑.ตื่นเช้าขึ้นมาก็คิดแต่สิ่งดีๆ ทันทีที่ตื่นนอน หากเราคิดถึงแต่สิ่งที่ดีที่งาม ก็จะทำให้จิตใจเราสดชื่น กระตือรือร้น พร้อมที่จะรับมือกับชีวิตประจำวันด้วยความรื่นเริง ไม่หงุดหงิด โมโห แค่นี้ นอกจากเราจะมีความสุขแล้ว คนรอบข้างเราก็มีความสุขไปด้วย ถือว่าเป็นการทำบุญอย่างหนึ่ง

๒.ยิ้มแย้มแจ่มใส ในแต่ละวัน หากเราจะรู้จักยิ้มแย้มแจ่มใส ไม่ว่าจะยิ้มกับคนรู้จักหรือไม่รู้จักก็ตาม หน้าตาของเราก็จะดูเป็นมิตร ทำให้คนอยากเข้าใกล้ ถ้าเราเป็นพ่อแม่ ยิ้มกับลูกก่อนไปทำงาน ลูกก็ดีใจ ลูกยิ้มกับพ่อแม่ๆก็สบายใจว่าต่างคนต่างไม่มีเรื่องเดือนร้อนใจแน่ หรือหากมีก็กล้าจะมาปรึกษาหารือ หรือหากเป็นเจ้านาย ยิ้มกับลูกน้องๆก็รู้ว่าวันนี้นายอารมณ์ดี ทำให้ทำงานด้วยความมั่นใจ ไม่ต้องระแวงว่าจะถูกเรียกไปต่อว่า และถ้าเรียกก็ดูน่าจะมีเมตตากว่าเวลาที่นายทำหน้ายักษ์

๓.ทักทาย โอปราศรัย คนบางคน นอกจากจะไม่ยิ้มกับใครแล้ว ยังชอบทำหน้าบึ้งตึงไม่คิดจะพูดจาทักทายใครด้วย ซึ่งถ้าเกิดทำงานด้านบริการ คนมาติดต่อคงรู้สึกเกร็งและกังวลตลอดว่าจะถูกเอ็ดตะโรเมื่อไรก็ไม่รู้ ดังนั้น นอกจากยิ้มแย้มแจ่มใสแล้ว เราก็ควรจะเอื้อนเอ่ยวาจาทักทายผู้มารับบริการก่อน การทักทายปราศรัยกับผู้อื่นไม่ว่าจะเป็นผู้มาขอรับบริการ เพื่อนฝูงคนรู้จัก ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา หรือแม้แต่คนที่มาทำงานให้เรา เช่น แม่บ้าน ยาม ฯลฯ จะทำให้เขารู้สึกเป็นมิตร และอบอุ่นใจ ทำให้บรรยากาศในที่นั้นๆดีขึ้น

๔.แบ่งปันน้ำใจไมตรี สามารถทำได้ทุกที่และทุกเวลา เช่น ช่วยพ่อแม่จัดโต๊ะอาหาร ล้างถ้วยชาม ลุกให้เด็ก ผู้หญิงท้อง หรือคนแก่นั่ง ช่วยถือของหนักให้คนในรถเมล์ หยุดรถให้คนข้ามถนนหรือรถอื่นไปก่อน ช่วยแบ่งเบาภาระงานให้เพื่อนในที่ทำงาน เป็นต้น การให้ความช่วยเหลือเช่นนี้ เป็นการทำบุญด้วยการลดความเห็นแก่ตัวของเราลง และทำให้เราได้รับมิตรไมตรีสนองตอบกลับมาด้วย

๕. ปลุกปลอบให้กำลังใจ ช่วยแก้ไขปัญหา หลายๆครั้งที่เพื่อนฝูงญาติมิตรอาจประสบปัญหาชีวิตและเกิดความทุกข์ใจแสน สาหัส สิ่งที่ดีที่สุดคือ ความเป็นมิตรและถ้อยคำที่ปลุกปลอบให้กำลังใจ คำพูดดีๆที่มาจากใจ จะทำให้ผู้ที่ตกอยู่ในห้วงทุกข์ รู้สึกดีขึ้นและมีพลังที่ต่อสู้ชีวิตต่อไปได้

๖.ให้คำชมด้วยความนิยมยินดี การกล่าวคำชื่นชมต่อผู้อื่นไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดๆ ย่อมจะทำให้ผู้รับคำชมรู้สึกปลาบปลื้มยินดี และมีความสุขได้ โดยเฉพาะในเรื่องที่เขาทำสำเร็จ แต่ทั้งนี้ต้องอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริงและจริงใจด้วย ดูอย่างตัวเราเองแค่วันไหน แต่งตัวสวย แล้วมีคนชม เราก็หน้าบานไปทั้งวันแล้ว เช่นเดียวกัน คนทุกคนล้วนอยากได้การยอมรับและคำชมทั้งนั้น เพราะคำชมจะเป็นการเสริมเพิ่มกำลังใจให้อยากทำดียิ่งๆขึ้นไป

๗.แนะนำให้คำสอนที่ดี มีคุณค่า ไม่ว่าจะเราจะอยู่ในสถานภาพใด เช่น เป็นลูก เป็นพ่อแม่ ลูกน้อง เจ้านาย เพื่อนร่วมงาน เพื่อนร่วมอาชีพ ฯลฯ หากเราจะมีเมตตาแนะนำในสิ่งที่ดี มีประโยชน์และคุณค่าต่อผู้อื่น หรือสอนในสิ่งที่เราชำนาญให้แก่ผู้อื่น ก็จะเป็นการช่วยเกื้อกูลสังคมให้ดียิ่งขึ้น และผลก็จะย้อนมาสู่ตัวเราผู้ทำด้วย เช่น สอนงานให้ลูกน้อง ต่อไป เมื่อเขาทำงานเป็นเราก็ไม่ต้องเหนื่อยมาก และเขาก็จะรู้สึกขอบคุณเรา แนะวิธีออกกำลังกายให้พ่อแม่ ท่านก็แข็งแรง ไม่เจ็บไข้ได้ป่วยง่าย เราก็สบายใจ หรือแม้แต่การแนะนำให้ความรู้ที่เรามีหรือทราบมาแก่คนไม่รู้จัก อย่างแนะนำหมอ ยาดีๆหรือธรรมะที่ดีแก่คนอื่น ทำให้เขาหายป่วยหรือรู้สึกดีขึ้น เขาก็จะอธิษฐานหรือให้พรเรา ทำให้เราพบแต่สิ่งดีๆในชีวิต

๘.การให้อภัยในความผิดพลาดของผู้อื่น โดยทั่วไปคนเรามักจะให้อภัยตัวเองง่าย และมีข้อแก้ตัวให้ตนต่างๆนานา แต่ถ้าผู้อื่นผิดพลาดแล้ว เรามักเห็นเป็นเรื่องใหญ่และตำหนิติเตียนไม่รู้จักแล้วจบ ดังนั้น เราจะต้องหัดมีเมตตา รู้จักให้อภัยต่อผู้อื่นให้ง่ายเหมือนให้อภัยแก่ตัวเราเอง เพราะการให้อภัย จะทำให้เราไม่ผูกใจเจ็บ ไม่อาฆาตมาดร้าย ไม่ก่อศัตรู แต่ทำให้จิตใจเราสงบเย็น เป็นฝึกจิตพื้นฐานอย่างหนึ่งที่จะนำไปสู่กุศลขั้นสูงอื่นๆต่อไป

๙.ฝึกจิตให้สงบและสบายด้วยการทำสมาธิหรือสวดมนต์ การทำสมาธิ ฟังดูเหมือนยาก แต่จริงๆ เราทำได้ตลอดเวลาไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนหรือทำอะไรอยู่ เช่น กินข้าว อาบน้ำ ทำการบ้าน ทำงานบ้าน อ่านหนังสือ อยู่ที่ทำงาน หัวใจหลักคือให้เอาใจไปจดจ่อในสิ่งที่ทำเพียงอย่างเดียว จะทำให้เราทำทุกอย่างได้ดีขึ้น เพราะไม่พะวักพะวน คิดหรือทำหลายอย่างในเวลาเดียวกันอันทำให้ขาดสติ และทุกๆคืนก่อนนอน ก็ควรสวดมนต์ไหว้พระที่เรานับถือ โดยอาจเลือกบทสวดสั้นๆที่เราชอบ เสร็จแล้วก็อย่าลืมแผ่เมตตาให้กับตัวเราเองและผู้อื่นตามสมควร

ที่กล่าวมาทั้งหมด จะเห็นได้ว่าเป็นการทำความดีที่ไม่ต้องใช้เงินเลย แต่สามารถปฏิบัติในชีวิตประจำวันของเราได้โดยไม่ยากเย็นเข็ญใจจนเกินไป อีกทั้งปฏิบัติแล้วก็เป็นบุญกุศลที่จะเกื้อหนุนให้เราและคนรอบตัวมีความสุข เพราะ”บุญ” ในอีกความหมายหนึ่งก็คือ เครื่องชำระกาย ใจให้บริสุทธิ์ เป็นการทำประโยชน์ให้แก่ตัวเราเอง และผู้อื่น และยังช่วยลดกิเลส ความเศร้าหมองต่างๆได้ เริ่มทำแต่วันนี้เลยนะคะ เพราะมีคนบอกว่า “ความดีไม่มีขาย อยากได้ต้องทำเอง”

………………………………………
อมรรัตน์ เทพกำปนาท
กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม

เขียนเมื่อ เมษายน ๔๘
ที่มา: สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม. http://www.culture.go.th/
ที่มาภาพ  : http://board.palungjit.com

เสริฟอาหารเมนูเด็ด เคล็ดความสุขปีใหม่ “ผัดเบญจมงคลเสริมเสน่ห์”

.

 อาหารเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ และเป็นปัจจัยแรกที่จำเป็นยิ่งต่อการดำรงชีวิตของคนเรา พจนานุกรมฯได้ให้ความหมายของ”อาหาร”ว่า คือ ของกิน เครื่องค้ำจุนชีวิต หรือเครื่องหล่อเลี้ยงชีวิต ดังนั้น การที่มนุษย์เราไม่ว่ายุคใดสมัยไหนต้องดิ้นรนหาเลี้ยงชีพ ส่วนหนึ่งก็คือการหาอาหารมาเลี้ยงปากเลี้ยงท้องนั่นเอง โดยทั่วไปอาหารจะทำหน้าที่ ๓ อย่างคือ ให้พลังงานแก่ชีวิต ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ และเป็นยารักษาโรค ซึ่งอาหารบางชนิดก็สามารถทำหน้าที่ได้ทั้งสามอย่าง บางชนิดก็ทำหน้าที่ได้เพียงบางส่วน ด้วยเหตุนี้ เราจึงต้องกินอาหารให้ครบหมวดหมู่เพื่อให้เกิดสมดุลในร่างกาย อันจะทำให้เราแข็งแรง ไม่เจ็บไข้ได้ป่วย ฯลฯ ซึ่งจะเป็นสาเหตุของปัญหาอื่นๆตามมา
ปัจจุบัน คนเรามีความตื่นตัวและหันมาหา “อาหารสุขภาพ”กันมากขึ้น ทำให้มีการค้นคว้า วิจัย และค้นพบสูตรอาหารต่างๆให้เลือกมากมาย เช่น อาหารชีวจิต อาหารแมคโครไบโอติก อาหารตามธาตุ หรืออาหารตามหมู่เลือด เป็นต้น แต่ไม่ว่าจะเป็นอาหารประเภทใด ความสำคัญก็อยู่ตรงที่กินแล้ว ต้องทำให้เรามีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ ดังนั้น ในโอกาสปีใหม่ที่กำลังจะมาถึงนี้ กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (สวช.) กระทรวงวัฒนธรรม จึงอยากจะขอแนะนำอาหารตำรับดั่งเดิมที่มีชื่อว่า “ผัดเบญจมงคลเสริมเสน่ห์” อันเป็น“ เมนูเด็ด เคล็ดแห่งความสุขปีใหม่” ให้แก่ทุกท่าน เพื่อจะได้นำไปปรุงรสปรุงชีวิตให้มีความสุข สดชื่น และสมหวังตลอดปี
เมนูดังกล่าว มีส่วนผสมหรือเครื่องปรุงที่ต้องเตรียม ประกอบด้วย
มนุษยสัมพันธ์ ๓ ช้อนโต๊ะ
ปิยวาจาแกะเอาแต่เนื้อที่ประกอบด้วยพูดดี พูดเพราะ พูดเป็นประโยชน์ ๑/๒ ถ้วยตวง
ความหยิ่งยะโสหั่นฝอยจนกลายเป็นความอ่อนน้อมถ่อมตน ๔ ช้อนโต๊ะ
ความเห็นแก่ตัวโขลกให้ละเอียดจนเหลือเพียงความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีน้ำใจ ๓ ถ้วย
ความซื่อสัตย์สุจริตหั่นเป็นรูปหัวใจ ๑๐ ใบ
วิธีปรุง: วางกระทะและติดไฟแห่งความตั้งใจให้พร้อม จากนั้นใส่มนุษย์สัมพันธ์อันเป็นมงคลแรกลงในกระทะก่อน เจียวให้หอม จากนั้นใส่ปิยวาจา ความเอื้อเฟื้อและน้ำใจ อันเป็นมงคลที่สองและสามตามลงไป ผัดให้ทั่ว ตักใส่จาน แล้วโรยหน้าด้วยความอ่อนน้อมถ่อมตนอันเป็นมงคลที่สี่ เวลาเสริฟให้ตกแต่งด้วยใบแห่งความซื่อสัตย์สุจริตซึ่งเป็นมงคลสุดท้ายเป็น เครื่องเคียง ซึ่งสูตรนี้จะขาดไม่ได้ มิฉะนั้นแล้ว “ผัดเบญจมงคล เสริมเสน่ห์” นี้ เสริฟไปก็ไร้ผล เพราะเป็นเสน่ห์จอมปลอม นอกจากจะไม่มีผลดีต่อตนเองแล้ว ยังสร้างไขมันแห่งความเลี่ยนแก่ผู้อื่นอีกด้วย

     อนึ่ง เนื่องจากเมนูเด็ดจานนี้ สามารถเสริมเพิ่มเติมส่วนผสมให้เหมาะกับคนทุกเพศ ทุกวัยทุกสถานภาพได้ ดังนั้น หากท่านเป็นผู้ที่มีธาตุดินเป็นเจ้าเรือน ซึ่งมีอารมณ์มั่นคง ไม่แปรปรวน เคลื่อนไหวค่อนข้างช้า รวมทั้งท่านที่มีธาตุน้ำ มีรูปร่างค่อนข้างท้วม อารมณ์เย็น ทนร้อนทนหนาวได้ดี ทั้งคู่ก็อาจจะต้องบีบ ความกระตือรือร้น ใส่ไปอีกสัก ๑/๒ ถ้วยตวง แต่ถ้าเป็นคนธาตุลมซึ่งมีรูปร่างโปร่ง ทำอะไรเร็ว ช่างพูดและหวั่นไหวง่าย คงต้องเติมความหนักแน่น ไม่หูเบาลงไปสัก ๓ ช้อนโต๊ะ และสำหรับคนธาตุไฟที่มักมีรูปร่างผอม ขี้ร้อน เคลื่อนไหวเร็ว อารมณ์ร้อน คงต้องหยอด ขันติ ลงไปอีก ๑/๒ ถ้วยเช่นกันเพื่อสร้างสมดุลในการคบหากับผู้อื่น
สำหรับท่านที่คิดจะเสริฟเมนูจานนี้ให้แก่ พ่อแม่หรือบุพการี ขอแนะนำให้ใส่ ความกตัญญูกตเวที ลงไปด้วย ๒ ถ้วยตวง หากจะเสริฟให้แก่ลูกหลาน ก็อาจจะใส่ใบแห่งความรัก ความเข้าใจ ๑ ถ้วยตวงแทนความอ่อนน้อมถ่อมตน หรือหากจะเสริฟเพื่อนฝูง ก็ควรเพิ่มสัดส่วนความมีน้ำใจไมตรีและปิยวาจาให้มากขึ้น หากท่านเป็นผู้บังคับบัญชา ท่านก็ควรเสริมความอร่อยของอาหารจานนี้ด้วยการใส่ความเมตตา และความเห็นอกเห็นใจเติมเข้าไปด้วย ส่วนผู้ที่เป็นลูกน้องหากจะเสริฟเจ้านายนอกจากจะหยอดความอ่อนน้อมถ่อมตนให้ มากขึ้นแล้ว ก็ควรเหยาะความขยันหมั่นเพียร เป็นชูรสด้วย ก็จะทำให้รสชาติอาหารจานนี้กลมกล่อมยิ่งขึ้น
จะเห็นได้ว่า เมนู “ผัดเบญจมงคลเสริมเสน่ห์” นี้เป็นอาหารที่ประกอบง่าย ส่วนผสมไม่ยุ่งยากและก็สะดวกหา อีกทั้งยังน่ารับประทานยิ่ง เพราะขึ้นชื่อว่า “เสน่ห์” แล้ว เชื่อว่าทุกคนก็อยากมีอยากเป็นกันทั้งนั้น ข้อสำคัญเมนูนี้ยังสามารถพลิกแพลงปรับเปลี่ยนสูตรได้ตามความเหมาะสม จะทำกินเองหรือเสริฟให้แก่ผู้อื่นก็ล้วนแล้วแต่จะสร้างความประทับให้แก่ผู้ ที่ได้ลิ้มรสทั้งสิ้น กินแล้วก็สร้างความสุขกายสบายใจทั้งแก่ตนเองและคนรอบข้าง ถือเป็นเมนูเด็ดอันเป็นเคล็ดลับแห่งความสุขปีใหม่ ที่ขอมอบให้แก่ทุกท่านในปี ๒๕๔๘ นี้
.......................................
อมรรัตน์ เทพกำปนาท
กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ

เขียนเมื่อ ธันวาคม ๔๗
ที่มา:สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม. http://www.culture.go.th/
ที่มาภาพ  :http://www.our-teacher.com

5 เกณฑ์วัด “ ต้นแบบคนดี น่านับถือ ” ในสังคม

.

ในปัจจุบันหากมีการสัมมนาหรือประชุมเพื่อหาแนวทางพัฒนาสังคมให้ดีขึ้นแล้ว สิ่งหนึ่งที่มักจะถูกหยิบยกมาพูดถึงอยู่เสมอ คือ ความต้องการ “ ต้นแบบ ” หรือ “ ตัวอย่างที่ดี ” โดยเฉพาะจากผู้นำในทุกภาคส่วนของสังคมตั้งแต่ระดับครอบครัวไปจนถึงระดับ ประเทศ ไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ ครูบาอาจารย์ ดารานักร้อง ศิลปิน ผู้นำทางศาสนา หรือผู้นำทางการเมือง เป็นต้น เพราะบุคคลเหล่านี้จะมีส่วนอย่างมากต่อการชี้นำ หรือกำหนดแนวทางให้เด็กๆและเยาวชนของชาติเลียนแบบพฤติกรรม ซึ่งทุกวันนี้คุณลักษณะหนึ่งที่เรียกร้องกันมากคือ “ ความซื่อสัตย์ สุจริต ” ซึ่งลักษณะดังกล่าวเป็นเพียงส่วนหนึ่งของผู้ควรเป็นต้นแบบที่ดีเท่านั้น ในหนังสือ “ ธรรมนูญชีวิต ” ของ พระพรหมคุณาภรณ์ (พระธรรมปิฎก ป.อ.ปยุตฺโต) ได้กล่าวถึง หลักเกณฑ์ วัดคนที่ประสบความสำเร็จในการครองเรือน หรือคนที่ชาวบ้านสามารถให้เคารพนับถือว่าเป็นแบบฉบับและตัวอย่างที่ดีในการ ดำรงชีวิตไว้อย่างน่าสนใจ ดังนั้น กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม จึงขอนำมาขยายต่อให้เห็นว่า คนแบบใดที่ควรไหว้หรือนับถือได้อย่างเต็มหัวใจ
       เกณฑ์แรก ท่านว่าให้วัดจาก ความสุขสี่ประการ ที่เรียกว่า “ กามโภคีสุข ” หรือสุขของคฤหัสถ์ (คือผู้ครองเรือน หรือชาวบ้านทั่วไปที่ไม่ได้บวช) กล่าวคือ คนที่จะเป็นที่นับถือของคนอื่นได้ อย่างน้อยต้องเป็นคนที่มีความสุขในแบบที่คนทั่วๆไปควรจะพยายามให้เกิดขึ้น กับตน นั่นคือ
       ๑.อัตถิสุข คือ สุขจากความมีทรัพย์ หมายถึง มีความภูมิใจ อิ่มเอิบใจว่าตนมีโภคทรัพย์ที่ได้มาด้วยน้ำพักน้ำแรง ความขยันหมั่นเพียรของตน และ โดยทางชอบธรรม
       ๒.โภคสุข คือ สุขจากการใช้จ่ายทรัพย์ หมายถึง มีความภูมิใจ อิ่มเอิบใจว่าตนได้ใช้ทรัพย์ที่หาได้โดยชอบนั้น เลี้ยงตัวเอง เลี้ยงครอบครัว เลี้ยงผู้ที่ควรเลี้ยง และใช้บำเพ็ญประโยชน์ส่วนหนึ่ง
       ๓.อนณสุข (อะนะนะสุก) คือ สุขจากการไม่เป็นหนี้ หมายถึง มีความภูมิใจ อิ่มเอิบใจว่าตนเป็นไท ไม่เป็นหนี้ติดค้างใคร
       ๔.อนวัชชสุข (อะนะวัดชะสุก) หมายถึง สุขจากความประพฤติไม่มีโทษ คือ มีความภูมิใจ อิ่มเอิบใจว่าตนมีความประพฤติสุจริต ไม่บกพร่องเสียหาย ใครติเตียนไม่ได้ทั้งกาย วาจา และใจ
       ทั้งสี่ประการนี้ ท่านว่าข้อสุดท้ายเป็นความสุขที่มีค่ามากที่สุด ซึ่งแน่นอนใครก็ตามที่มีความประพฤติไม่มีโทษ มีความสุจริต อย่าว่าแต่เจ้าตัวเลยที่มีความสุข คนรอบข้างก็มีความสุขไปด้วย เพราะไม่ถูกเบียดเบียน และใครๆก็สามารถกราบไหว้เคารพผู้นั้นได้อย่างจริงใจ
       เกณฑ์ที่สอง ท่านว่า ชาวบ้านหรือผู้ครองเรือนทั่วๆไป มีหลายประเภท ตั้งแต่ร้ายไปจนดี และที่ดีก็มีหลายระดับ เช่น บางคนก็หาทรัพย์มาด้วยความชอบธรรม บางคนก็หาทรัพย์มาแบบชอบธรรมบ้าง ไม่ชอบธรรมบ้าง และใช้ทรัพย์นั้นๆในแบบต่างๆ กล่าวคือ บางคนหาทรัพย์ได้ ก็ไม่รู้จักใช้ให้ตัวเองเป็นสุข ไม่รู้จักเผื่อแผ่แบ่งปัน ไม่ใช้ทรัพย์ในการทำความดี ในขณะที่บางคนก็รู้จักใช้ทรัพย์ให้ตัวเองเป็นสุข แต่ไม่แบ่งปันคนอื่น และไม่ใช้ทำความดี หรือบางคนก็ใช้ทรัพย์ในทางหมกมุ่น มัวเมา หรือกินใช้ทรัพย์โดยไม่รู้เท่าทันเห็นโทษ เรียกว่า ไม่มีปัญญาทำตัวให้เป็นนายเหนือทรัพย์ได้ ดังนั้น ท่านจึงว่า คฤหัสถ์ที่เป็นแบบฉบับ ในเรื่องนี้ จึงควรมีลักษณะ แสวงหาทรัพย์โดยทางชอบธรรม ได้มาแล้ว รู้จักเลี้ยงตนให้เป็นสุข รู้จักเผื่อแผ่แบ่งปัน และใช้ทรัพย์ทำความดี ไม่ลุ่มหลง ไม่หมกมุ่นมัวเมา กินใช้ทรัพย์สมบัติอย่างรู้เท่าทัน เห็นคุณและโทษ ทางดีทางเสียของมัน มีปัญญา ทำตนให้เป็นอิสระหลุดพ้น เป็นนายเหนือโภคทรัพย์ คนเช่นนี้พระพุทธองค์สรรเสริญว่า เป็นผู้เลิศ ประเสริฐสูงสุด
       อย่างไรก็ดี ในปัจจุบันการวัดคนดีและเป็นแบบฉบับด้วยเกณฑ์นี้ บางทีก็ดูไม่ง่ายนัก เพราะพฤติกรรมบางอย่างก็เหลื่อมล้ำ จนยากจะตัดสินใจได้ว่า “ ดี ” หรือ “ ไม่ดี ” เช่น ถ้าใครก็ตามที่หาทรัพย์มาด้วยการ คดโกง เราก็ต้องว่าเขาเป็น คนไม่ดี แต่ถ้าคนๆเดียวกันนี้ นำเงินของเขาบางส่วนไป ทำบุญหรือเลี้ยงเด็กกำพร้า เด็กยากจน เราก็ต้องบอกว่า เขา ทำความดี ใช่หรือไม่ ในขณะที่อีกคนทำมาหากินด้วยลำแข้ง ไม่เอาเปรียบ ไม่ทำความเดือดร้อนให้ใคร แต่ก็ไม่ช่วยเหลือใคร และก็ไม่เคยทำบุญเลย คนเช่นนี้จะเรียกเขาว่า คนดี หรือเปล่า? หรือคนหนึ่งหากินจนร่ำรวยในทางสุจริต เมื่ออยากผ่อนคลายจึงไปซื้อบริการเด็กเสิรฟที่อยากได้เงินพิเศษ หรือเลี้ยงเด็กนักศึกษาที่ต้องการทุนไว้ศึกษาต่อ คนเช่นนี้ เราจะกล่าวว่าเขาใช้ทรัพย์ทำความดีได้หรือไม่ ในเมื่อเขาก็หาเงินมาอย่างสุจริต และใช้เงินช่วยเหลือเด็กเสิรฟหรือนักศึกษาที่ต่างก็ต้องการเงินพิเศษ เรียกว่าสมประโยชน์ทุกฝ่าย หรือในบางบริษัทที่มีพนักงานที่เก่ง สามารถหากำไรเข้าบริษัทได้เป็นร้อยๆล้าน แต่ขณะเดียวกันเขาก็โกงบริษัทไปบางส่วน ในขณะที่อีกคนใครๆก็ว่าเขาดี และซื่อสัตย์ แต่หาเงินเข้าบริษัทได้น้อยกว่า บริษัทจะเลือกใคร ? ลักษณะคล้ายๆกันนี้ เป็นสิ่งที่เราพบเห็นกันมากในสังคมปัจจุบัน ที่เส้นแบ่งระหว่างความดี/ไม่ดี ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ และคงยากที่จะให้คำตอบตายตัว
       เกณฑ์ที่สาม ท่านว่าคนที่จะเป็น “ แบบอย่างที่ดี ” ได้ต้องเป็นผู้มีหลักธรรมในการดำเนินชีวิตที่เรียกว่า “ ฆราวาสธรรม ๔ ” อันได้แก่ ๑.สัจจะ ความจริง คือ เป็นคนดำรงมั่นในสัจจะ ซื่อตรง ซื่อสัตย์ จริงใจ พูดจริง ทำจริง จะทำอะไรก็ให้เป็นที่เชื่อถือไว้วางใจได้ ๒.ทมะ ฝึกตน คือ บังคับควบคุมตัวเองได้ รู้จักปรับตัวและแก้ไข ปรับปรุงตนให้ก้าวหน้าดีงามยิ่งขึ้นอยู่เสมอ ๓.ขันติ อดทน คือ มุ่งทำหน้าที่การงานด้วยความขยันหมั่นเพียร เข้มแข็งอดทน ไม่หวั่นไหว มั่นในจุดหมาย ไม่ท้อถอย ๔.จาคะ เสียสละ คือ มีน้ำใจ เอื้อเฟื้อ ชอบช่วยเหลือเกื้อกูล บำเพ็ญประโยชน์ สละโลภ ละทิฐิมานะได้ ร่วมงานกับคนอื่นได้ ไม่ใจแคบหรือเห็นแก่ตัว หรือเอาแต่ใจตัว
       เกณฑ์ที่สี่ ท่านว่า ต้องเป็นผู้รับผิดชอบชีวิตที่เกี่ยวข้อง กล่าวคือ มีความสัมพันธ์อันดีงามอบอุ่นเป็นสุขภายในครอบครัว ตลอดถึงญาติมิตร ผู้ร่วมงานและคนที่พึ่งพาอาศัยอยู่ในปกครอง โดยทำหน้าที่ไม่เพียงแต่นำประโยชน์ทางวัตถุมาให้เท่านั้น แต่ต้องนำประโยชน์ทางจิตใจมาให้ด้วย โดยประพฤติเป็นตัวอย่างและชักจูงให้ผู้เกี่ยวข้องเจริญงอกงามด้วยคุณธรรมที่ เรียกว่า “ อารยวัฒิทั้ง ๕ ” (อาระยะวัดทิ) คือ ๑.งอกงามด้วยศรัทธา คือ ให้มีความเชื่อมั่นในพระรัตนตรัยในการทำความดี ๒.งอกงามด้วยศีล คือ ให้มีความประพฤติดีงาม สุจริต รู้จักเลี้ยงชีวิต มีวินัย และกิริยามารยาทอันงดงาม ๓.งอกงามด้วยสุตะ คือ ให้มีความรู้จากการเล่าเรียน สดับฟัง โดยแนะนำหรือขวนขวายให้ศึกษาหาความรู้ที่จะปรับปรุงชีวิตจิตใจ ๔.งอกงามด้วยจาคะ คือ ให้มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีน้ำใจต่อกัน        ๕.งอกงามด้วยปัญญา คือให้มีความรู้คิด เข้าใจเหตุผล รู้ดีรู้ชั่ว รู้คุณรู้โทษ มองสิ่งทั้งหลายเป็นจริง รู้จักใช้ปัญญาหาเหตุปัจจัย แก้ปัญหา และจัดทำการดำเนินการต่างๆให้ได้ผลดี
       และ เกณฑ์ที่ห้าสุดท้าย ก็คือ การครองตนเป็นพลเมืองดี ด้วยการนำชีวิตและครอบครัวตนไปสู่ความเจริญ สงบสุข และเป็นพลเมืองที่สร้างสรรค์ในสังคม ด้วยการประพฤติต่างๆ อันได้แก่ ไม่คบชู้สู่หา มัวหมกมุ่นในเรื่องเพศ / ไม่ใจแคบเสพสิ่งเลิศรสผู้เดียว /ไม่พร่าเวลาถกถ้อยที่เลื่อนลอยไร้สาระ / ประพฤติดี มีวินัย ตั้งอยู่ในศีล ๕ /ปฏิบัติกิจหน้าที่สม่ำเสมอโดยสมบูรณ์ / ไม่ประมาท กระตือรือร้นทุกเวลา / มีวิจารณญาณ ทำการโดยใช้ปัญญา / สุภาพ ไม่ดื้อกระด้าง ยินดีรับฟังผู้อื่น/ รักความประณีตสะอาดเรียบร้อย/พูดจาน่าฟัง ทั้งใจกายก็อ่อนโยน ไม่หยาบคาย/ มีน้ำใจเอื้อสงเคราะห์มิตรสหาย/เผื่อแผ่แบ่งปันคนทั่วๆไป / รู้จักจัดการงานให้เรียบร้อยและได้ผลดี/บำรุงพระสงฆ์ทรงความรู้ ผู้ทรงศีลทรงธรรม/ ใคร่ธรรม รักความสุจริต /อ่านมาก ฟังมาก รู้วิชาของตนเชี่ยวชาญ / และชอบสอบถามค้นคว้า ใฝ่หาความรู้ยิ่งๆขึ้นไป
       ทั้งหมดคือหลักเกณฑ์ที่ท่านบอกว่า ใครก็ตามที่ประพฤติปฏิบัติได้ ก็เรียกว่าเป็น “ คนครองเรือนที่เลิศล้ำ ” หรือกล่าวง่ายๆว่า คนๆนั้นมีลักษณะเป็น “ ต้นแบบคนดี ที่น่านับถือในสังคม ” ซึ่งชาวบ้านทั่วไปสามารถให้เคารพนับถือได้อย่างจริงใจนั่นเอง ซึ่งหลายคนอ่านแล้ว อาจคิดว่าจะหาคนเช่นนี้ได้ที่ไหน แต่จริงๆแล้วสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นคุณธรรมพื้นฐานในการดำรงชีวิตอยู่แล้ว เพียงแต่กระแสทุนนิยม อาจจะทำให้เราหลงไปชื่นชมยกย่อง “ คนที่มีฐานะหรือสถานภาพสูงในสังคม ” ที่ฉาบด้วยตำแหน่ง เครื่องประดับ รถ หรือบ้าน ฯลฯ อันเป็นเปลือกมานาน จนลืมเลือนที่จะยกย่อง “ คนดี ทำดี ” ที่ธรรมดาให้ปรากฎ หรือเหนือกว่า ปัจจุบัน เราจึงมี “ ต้นแบบ ” ที่ “ สวยแต่รูป จูบไม่หอม ” มากมายในสังคม
............................
อมรรัตน์ เทพกำปนาท
กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม

เขียนเมื่อ ธันวาคม ๔๘

ที่มา:สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม. http://www.culture.go.th/


Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More

 
Design by Gu